จากบทความคราวที่แล้ว เราได้ทราบกันไปแล้วว่าบ้านน็อคดาวน์คืออะไร มีข้อควรรู้อะไรเกี่ยวกับการสร้างบ้านน็อคดาวน์กันบ้าน แต่อย่างไรก็ดี ว่าที่เจ้าของบ้านหลาย ๆ คนก็คงอาจสับสนอยู่ในใจว่า หากต้องการประหยัดงบเรื่องคนคุมบ้าน และช่างก่อสร้าง เจ้าของบ้านสามารถสร้างบ้านน็อคดาวน์เองได้หรือไม่ แล้วจะมีวิธีการสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเองอย่างไรให้ลงตัวทั้งในเรื่องของความปลอดภัย งบประมาณ และความต้องการ
วิธีการสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเอง
การสร้างบ้านน็อคดาวน์ คือ อีกทางเลือกหนึ่งของคนมีที่ดินแต่ไม่มีบ้าน แต่ต้องการสร้างบ้านสักหลังในเวลาที่รวดเร็ว บนงบประมาณที่จำกัด โดยส่วนใหญ่แล้ว การสร้างบ้านน็อคดาวน์นั้นสามารถทำได้ 2 วิธี ประกอบไปด้วย
วิธีที่ 1 : ซื้อบ้านน็อคดาวน์สำเร็จรูปมาติดตั้งในบ้านได้เลย
ในปัจจุบันนี้ ผู้ผลิตหลายเจ้าได้ออกแบบบ้านน็อคดาวน์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ทั้งหลัง โดยบ้านที่สามารถทำได้ก็จะมีขนาดไม่เกิน 18 - 24 ตารางเมตร ซึ่งหากเจ้าของบ้านไหนสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยวิธีนี้ก็จะต้องทำการเทปูน วางรากฐาน ตลอดจนเดินงานระบบอย่างระบบไฟฟ้า และน้ำไว้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงเคลื่อนย้าย และเริ่มสร้างบ้านน็อคดาวน์ โดยส่วนใหญ่แล้ว การสร้างบ้านน็อคดาวน์แบบนี้จะมีราคาถูก และใช้เวลาในการสร้างไม่นานเพียง 1 - 5 วันเท่านั้น
วิธีที่ 2 : สร้างบ้านน็อคดาวน์เอง
แต่สำหรับใครที่ต้องการสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง หรือต้องการสร้างบ้านน็อคดาวน์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 24 ตารางเมตรก็สามารถซื้อชิ้นส่วนบ้านน็อคดาวน์ไปประกอบที่หน้างานเองได้ ซึ่งจะมีระยะเวลา และความยากง่ายในการติดตั้งที่แตกต่างกันไปตามขนาดและดีไซน์ของบ้านที่ต้องการ แต่โดยพื้นฐานแล้ว หากเจ้าของบ้านพอมีความรู้ในการก่อสร้าง วิธีการสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเองสามารถทำได้ ดังนี้
1. ลงเข็มเพื่อป้องกันการทรุดตัวของบ้าน
สำหรับในบางพื้นที่ที่เป็นดินหินอย่างจังหวัดเพชรบุรี หรือชลบุรีก็ลงเข็มเพื่อวางรากฐานก็อาจไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่หากเป็นพื้นที่ดินลุ่มแม่น้ำอย่างกรุงเทพมหานคร การลงเข็มก่อนสร้างบ้านน็อคดาวน์ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ เพราะหากปล่อยไว้ บ้านอาจทรุดตัวได้เร็วกว่าที่คิด
2. เทปูนทำรากฐาน
เมื่อลงเข็มและจัดการโครงสร้างหลักเรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านก็ควรเทปูนซ้ำอีกครั้งเพื่อเสริมความแข็งแรง
3. ต่อโครงบ้าน
โดยส่วนใหญ่แล้ว การสร้างบ้านน็อคดาวน์ขนาดใหญ่ หรือสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเองจำเป็นที่จะต้องใช้โครงเหล็กเพื่อทำโครงบ้านก่อน โดยเจ้าของบ้านสามารถเลือกสเปคของเหล็กเองได้ จากนั้นก็เชื่อมโครงเข้าไว้ด้วยกันตาม
ขายบ้านโคราช: เช็กก่อนสร้าง! รวมทุกเรื่องที่เจ้าของบ้านต้องรู้ก่อนสร้างบ้านน็อคดาวน์ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/homes2/