โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อยคือ ปวดมึนท้ายทอยตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาต หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
โรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆ ร่วมกับมีภาวะไขมันสูง สูบบุรี่ โรคเบาหวานที่ไม่ควบคุม น้ำตาลในเลือดที่สูงจะเร่งทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมโดยมีคราบไขมันพอกที่ผนังหลอดเลือดเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญได้แก่
- หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวาย หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
- สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือแตกทำให้เป็นอัมพาต และถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญอาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็วความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้สมองบวม ปวดศีรษะและซึมลงจนไม่รู้สึกตัว
- ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอจะเกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อรัง หรือเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น
- ตา หลอดเลือดแดงในตาแตกและมีเลือดออกทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตามัวลง
- หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดการโป่งพอง และหรือฉีกขาดของผนังหลอดเลือดจะมีการเจ็บหน้าอกถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต
วิธีการรักษา
เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิคือการควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรังควรควบคุมให้ต่ำกว่า
- เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดัน และปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่130/80 มม.ปรอท แนวทางการรักษามีดังนี้ ลดน้ำหนักส่วนเกิน เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ ธัญพืช ปลาและ นมไขมันต่ำระมัดระวังการรับประทานอาหารหวาน ไขมันควบคุมอาหารรสเค็ม รู้จักคลายเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ถ้าเลิกออกกำลังกาย ความดันสูงจะกลับมาใหม่เลิกบุหรี่และเหล้า
- ให้ยารักษาความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันยังคงสูงกว่า140/90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษา และควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
- ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ และเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
ดูแลสุขภาพอย่างไรจึงจะควบคุมได้
- รับประทานยา และพบแพทย์ตามนัด ไม่หยุดยาเองแม้ว่าจะมีความดันเป็นปกติ และไม่เปลี่ยนขนาด หรือชนิดยา เพราะประสิทธิภาพของยาจะแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยาควรปรึกษาแพทย์
- บริโภคอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสหวาน มัน เค็มจัดควรฝึกให้ชินกับอาหารรสธรรมชาติ หรือใช้สมุนไพรปรุงรสแทนและบริโภคแบบสด การบริโภคอาหารเค็มจะทำให้ความดันไม่ลงและดื้อต่อการรักษา
อาการของโรคความดันโลหิตสูง อ่านบบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/