แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - siritidaphon

หน้า: [1] 2 3 ... 25
1
จัดฟันบางนา: CT Scan สำคัญอย่างไร ในการฝังรากฟันเทียม

การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม เป็นการรักษาทาวทันตกรรมที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาการสูญเสียฟันได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ยังมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษา ซคางหากเปรียบเทียบกับแต่ก่อน การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมในสมัยก่อน ยังไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการรักษาและยังมีข้อผิดพลาดในการรักษามากกว่าในปัจจุบัน เพราะทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาใช้การฝังรากฟันเทียมด้วยมือเปล่า ยังไม่มีเทคโนโลยี CT Scan เข้ามาช่วยกำหนดตำแหน่งที่จะทำการฝังรากฟันเทียม


ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลการรักษาที่ล้มเหลว ผู้ที่มีปัญหาการสูญเสียฟันจึงนิยมสวมใส่ฟันปลอม แทนการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ซึ่งการสวมใส่ฟันปลอม ก็ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการฝังรากฟันเทียม เพราะผู้เข้ารับการรักษาอาจจะเกิดบาดแผลภายในช่องปากเนื่องจากฟันปลอม หรือยังมีปัญหาในเรื่องของการบดเคี้ยวอาหาร การพูดคุย เพราะฟันปลอมอาจจะเกิดการขยับทำให้พูดไม่ชัด ดังนั้นการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม จึงมีความสะดวกสบายมากกว่า และสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากกว่าการสวมใส่ฟันปลอม

สำหรับเทคโนโลยี CT Scan หลายคนสงสัยว่าการที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้นมีความสำคัญอย่างไร และมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน วันนี้ทางคลินิกเราจะมาพูดถึงเทคโนโลยี CT Scan ซึ่งเป็นตัวช่วยในการรักษาทางทันตกรรมที่ทำให้ทันตแพทย์ผู้ทำการรักษามีความสะดวกสบายในการฝังรากฟันเทียมและยังช่วยให้ผู้เข้ารับการรักษาสามารถใช้งานรากฟันเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในมุมของทันตแพทย์ เทคโนโลยี CT Scan สามารถเข้ามาช่วยกำหนดตำแหน่งที่จะทำการฝังรากฟันเทียมได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาได้มีฟันที่สวยงามเป็นธรรมชาติ


นอกจากเรื่องการกำหนดตำแหน่งของการฝังรากฟันเทียมแล้ว เทคโนโลยี CT Scan ยังช่วยในเรื่องของการตรวจสอบ ประเมินกระดูกขากรรไกรของผู้เข้ารับการรักษาว่ามีความหนาแน่นพอที่จะเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมหรือไม่ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณกระดูกว่าสามารถรองรับรากฟันเทียมได้หรือไม่ และในมุมของผู้เข้ารับการรักษา เทคโนโลยี CT Scan ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือว่า การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม จะทำให้ผู้เข้ารับการรักษากลับมามีฟันที่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ และยังช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้เข้ารับการรักษาว่า การฝังรากฟันเทียม จะสามารถแก้ไขปัญหาการสูญเสียฟันได้อย่างตรงจุด โดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆตามมาได้


สำหรับเครื่อง CT Scan เป็นเครื่องมือที่มีราคาสูงแต่ด้วยประโยชน์ของเครื่องมือนี้มีมากมายนัก และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้เข้ารับการรักษา ดังนั้นทันตแพทย์ผู้ชำนาญในสาขารากฟันเทียม จึงมักส่งให้ผู้ป่วยไปถ่ายภาพรังสีสามมิติหรือ CT Scan เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะทำให้ทันตแพทย์ได้รับรู้ขนาดและปริมาณของกระดูกก่อนที่จะผ่าตัดฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกรของผู้เข้ารับการรักษา ทำให้ทราบถึงตำแหน่งอวัยวะส่วนสำคัญต่างๆ ที่ต้องระวังเป็นพิเศษเช่น เส้นประสาทใหญ่ในขากรรไกร เส้นเลือด เป็นต้น เพราะหากผ่าตัดฝังรากเทียมไปโดนอวัยวะเหล่านี้ ผู้ป่วยจะเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาการไม่พึงประสงค์เช่น เลือดออกมาก หรือเส้นประสาทถูกกระทบกระเทือนทำให้เกิดอาการชาปากตลอดเวลา บางลายอาจชาตลอดไป เห็นมั้ยว่าในสมัยนี้เทคโนโลยีมีความสำคัญที่เข้ามาช่วยในการรักษา ทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


และยังเป็นการสร้างอัตราความสำเร็จในการรักษาให้กับผู้เข้ารับการรักษาด้วย หากคุณสนใจเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำจากทางคลินิกทางเรามีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญยังยังมีเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ครบครัน สามารถให้บริการได้อย่างครบวงจร จึงทำให้มั่นใจได้ว่า คุณจะกลับมามีฟันที่แข็งแรง สวยงาม ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่

2
ข้อควรรู้ ก่อนการติดตั้งฉนวนกันความร้อนให้อาคาร

เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน อากาศมีอุณหภูมิสูงแทบจะตลอดทั้งปี การติดตั้งวัสดุที่สามารถป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในอาคารอย่าง “ฉนวนกันความร้อน” เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้อุณหภูมิภายในตัวอาคารเย็นลง โดยที่ค่าไฟฟ้าไม่บานปลายจากการเปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศเพียงอย่างเดียว สำหรับใครที่กำลังคิดจะติดตั้งฉนวนกันความร้อน ได้นำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อนมาฝากกัน

ฉนวนกันความร้อนคืออะไร?

ฉนวนกันความร้อน คือวัสดุที่ช่วยกันความร้อนจากอีกฝั่งหนึ่งไม่ให้ส่งผ่านไปยังอีกฝั่ง สกัดความร้อนไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่น ๆ ของอาคาร มีลักษณะเบา ภายในประกอบด้วยฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งมีคุณสมบัติในการกั้นความร้อนให้อยู่ในฟองอากาศ ตัวอาคารจึงมีอุณหภูมิที่เย็นลงได้

นอกจากนี้ ฉนวนกันความร้อนยังมีหลายประเภทให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม เช่น ฉนวนใยแก้ว (Fiberglass) อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) ฉนวนใยหิน ร็อควูล (Rockwool) ฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทน โฟม (Polyurethane Foam) ฉนวนกันความร้อนโพลีเอธิลีน โฟม (Polyethylene Foam) และฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam) เป็นต้น

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนมีกี่แบบ?

วิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนมีความสำคัญมาก เนื่องจากฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทมีประสิทธิภาพในการกันความร้อนที่แตกต่างกัน ถ้าหากนำมาติดตั้งไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้ฉนวนกันความร้อนทำงานได้ไม่เต็มที่ ฉนวนกันความร้อนสามารถติดตั้งได้ทั้งภายใน และภายนอกตัวอาคาร โดยฉนวนกันความร้อนมีวิธีติดตั้ง 3 แบบคือ

    ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้า
    การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานจะช่วยไม่ให้ความร้อนสะสมอยู่ใต้หลังคา โดยฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งบนฝ้าจะต้องมีความหนา หุ้มด้วยวัสดุที่สามารถกันความชื้นได้ เพื่อป้องกันน้ำที่อาจรั่วซึมลงมาจากหลังคา และต้องมีช่องระบายความร้อนบริเวณชายคาบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมมากเกินไป โดยฉนวนกันความร้อนที่นิยมนำมาติดตั้งบนฝ้าเพดานคือ พอลิเอทิลีนโฟม พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ พอลิยูรีเทนโฟม และฉนวนใยแก้ว

    ติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้แผ่นหลังคา
    ฉนวนกันความร้อนชนิดนี้มักจะติดตั้งมาพร้อมกับการสร้างบ้าน มีประสิทธิภาพในการกันความร้อนที่ดีมากจึงเป็นวิธีการติดตั้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ช่วยทำให้ความร้อนเข้าสู่ใต้หลังคาน้อยลง โดยฉนวนกันความร้อนที่นิยมนำมาติดตั้งใต้หลังคาคือ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น อลูมิเนียมฟอยล์ พอลิเอทิลีนโฟม โพลียูรีเทนโฟม และพอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์

    ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนหลังคา
    ฉนวนกันความร้อนหลังคา สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า หลังคากันความร้อน เป็นแผ่นสะท้อนความร้อนซึ่งจะสะท้อนไม่ให้ความร้อนเข้าสู่ใต้หลังคาบ้าน มักจะนำมาใช้เพื่อเสริมการติดตั้งฉนวนแบบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การติดฉนวนกันความร้อนด้วยวิธีนี้จะทำให้ตัวฉนวนกันความร้อนสัมผัสกับแสงแดดและอากาศโดยตรง จึงอาจทำให้เสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น และถ้าหากฝนตกก็อาจทำให้เกิดความสกปรกสะสมได้

การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนเป็นวิธีที่มักจะนำมาใช้งานควบคู่กับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนประเภทอื่น ๆ เนื่องจากอลูมิเนียมฟอยล์มีหน้าที่ในการสะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ติดตั้งฉนวนความร้อนชนิดโพลียูรีเทนโฟมที่บริเวณใต้หลังคาเพื่อช่วยหน่วงความร้อนไม่ให้ไหลลงสู่เข้าบ้าน ควบคู่ไปกับการติดตั้งแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ ซึ่งเป็นแผ่นสะท้อนความร้อนไม่ให้ความร้อนเข้าสู่ใต้หลังคา เพื่อเสริมให้ความสามารถในการป้องกันความร้อนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแผ่นสะท้อนความร้อนมีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงสุด 97%

เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไร?

การเลือกฉนวนกันความร้อนให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด ควรพิจารณาจากสภาพการนำความร้อน (K) และประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อน (R) รวมถึงความหนาของฉนวน

    ค่า K (K-value) คือ สภาพการนำความร้อน หรือ Conductivity มีหน่วยเป็น W/m.k. เป็นค่าที่บอกถึงคุณสมบัติในการนำความร้อนว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งถ้าฉนวนกันความร้อนนั้นมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำ ความร้อนก็จะผ่านตัวฉนวนเข้ามาที่ตัวบ้านได้น้อยลง
    ค่า R คือ ค่าความต้านทานความร้อนของฉนวน หรือ Resistivity มีหน่วยเป็น m2K/W ซึ่งตัวเลขที่กำกับไว้เป็นตัวบอกว่าฉนวนชนิดนั้นสามารถต้านทานความร้อนที่เข้ามาแค่ไหน ฉนวนที่มีค่า R มาก จะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดี

ดังนั้น ฉนวนกันความร้อนที่ดีจะต้องมีสภาพการนำความร้อนต่ำและมีค่าต้านทานความร้อนสูง หรือให้เข้าใจง่าย ๆ คือ “มีค่า K ต่ำ และ ค่า R สูง” นอกจากนี้ เรื่องของความหนา (Thickness) ก็มีผลต่อความสามารถในการกันความร้อนเช่นกัน โดยฉนวนยิ่งหนาก็ยิ่งมีค่าต้านทานความร้อน (R) ที่สูง จึงยิ่งสามารถป้องกันความร้อนได้ดี แต่ก็ไม่ควรเลือกฉนวนกันความร้อนที่หนามากจนเกินไป

ควรดูแลฉนวนกันความร้อนอย่างไร?

การดูแลฉนวนกันความร้อนสามารถทำได้ด้วยการหมั่นตรวจเช็คสภาพของฉนวนกันความร้อน และพื้นที่โดยรอบว่ามีอะไรชำรุดเสียหายหรือไม่ เพื่อให้สามารถซ่อมแซมได้อย่างทันท่วงที ควรทำความสะอาดทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ และแมลงต่าง ๆ นอกจากนี้ยังควรเปลี่ยนฉนวนกันความร้อนใหม่ทุก 10 – 15 ปีตามสภาพการใช้งาน ซึ่งถ้าหากบ้านมีอุณหภูมิความร้อนสูง หรือมีความชื้นมาก ๆ อายุการใช้งานของฉนวนกันความร้อนก็จะน้อยลงไปด้วย

ข้อควรระวังในการติดตั้งฉนวนกันความร้อน

นอกจากรู้วิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน และวิธีการดูแลรักษาแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ควรรู้ก่อนจะติดตั้งฉนวนกันความร้อน ดังนี้

    พื้นที่ในการติดตั้ง
    ควรคำนวณพื้นที่ในการติดตั้งก่อนจะเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด ควรเลือกฉนวนกันความร้อนที่มีความหนาประมาณ 6 นิ้ว โดยปกติแล้วฉนวนกันความร้อนจะหนึ่งม้วนจะมีพื้นที่ 2.4 ตารางเมตร โดยประมาณ
    บริเวณที่เกิดความร้อน
    ก่อนติดตั้งฉนวนกันความร้อน ให้สังเกตบริเวณที่มีแสงแดดส่องลงมาสู่ตัวบ้าน ว่าบริเวณไหนเกิดความร้อนมากที่สุด เพื่อให้สามารถลงงบประมาณในการติดตั้งให้ถูกต้อง โดยต้องเลือกฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพในการกันความร้อนสูงที่สุด และมีคุณภาพสูงมาติดตั้งในบริเวณที่มีแสงส่องลงมามาก จากนั้นจึงค่อยติดตั้ง และแก้ไขในบริเวณอื่น

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเรื่องน่ารู้ของฉนวนกันความร้อนที่ บริษัท ยูเนี่ยน คอนแมท จำกัด นำมาฝาก สำหรับคนที่อยากจะติดตั้งฉนวนกันความร้อนในบ้าน หรืออาคารก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ เพื่อจะได้นำไปเลือกฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม รับรองว่าคุณจะมีบ้านที่เย็นสบาย ไม่หวั่นเรื่องค่าไฟแม้จะอากาศร้อน และถ้าหากคุณกำลังมองหาฉนวนกันความร้อน เรายินดีให้คำปรึกษา โดยทีมงานมืออาชีพ

3
Doctor At Home: ชักจากไข้ (Febrile seizure/Febrile convulsion)

ชักจากไข้ หมายถึง อาการชักที่เกิดขึ้นขณะมีไข้ เนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยไม่รวมถึงการติดเชื้อของสมองและเยื่อหุ้มสมอง

พบเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการชักที่มีไข้ร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี พบได้ประมาณร้อยละ 3-5 ของเด็กในวัยนี้

เด็กที่มีอาการชักจากไข้มักมีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องคนใดคนหนึ่งเคยชักจากไข้ด้วย

ชักจากไข้แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชักจากไข้ชนิดสามัญ (simple febrile seizure) และชักจากไข้ชนิดซับซ้อน (complex febrile seizure)

เด็กส่วนใหญ่จะมีอาการชักจากไข้ชนิดสามัญ และชักเพียงครั้งเดียว ประมาณร้อยละ 30-40 ที่อาจชักซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง และประมาณร้อยละ 10 ที่อาจชักซ้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป

สาเหตุ

อาการชักจากไข้ พบมากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี (พบมากที่สุดในช่วง 3 ปีแรก) เนื่องจากสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต จึงมีความไวต่อการกระตุ้นจากไข้ ซึ่งโดยมากขนาดของไข้ที่จะทำให้ชักได้มักจะสูงเกิน 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป

ส่วนใหญ่มักมีไข้จากโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด หัด ไข้ผื่นกุหลาบในทารก ท้องเดินจากไวรัส เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากบิดชิเกลลา ทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ

อาการ

เด็กจะมีไข้ ร่วมกับอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ ไอ ท้องเดิน เป็นบิด เป็นต้น แล้วต่อมามีอาการชัก (ส่วนใหญ่จะชักแบบกระตุกทั้งตัว) ตาค้าง กัดฟัน กัดลิ้น นานประมาณ 2-3 นาที (มักไม่เกิน 5-15 นาที) ส่วนใหญ่จะมีอาการชักเพียง 1 ครั้ง หลังจากนั้นจะไม่ชักซ้ำอีก ส่วนน้อยอาจมีอาการชักกำเริบอีกเมื่อมีไข้ในครั้งต่อไป

หลังจากหยุดชัก เด็กจะรู้สึกตัวดีเป็นปกติ ไม่ซึม พูดคุยได้ปกติ และแขนขาเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ

ในรายที่มีอาการชักจากไข้ชนิดซับซ้อน (ซึ่งพบได้เป็นส่วนน้อย) จะชักนานเกิน 15 นาที หรือชักเกิน 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หรือมีอาการชักเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือมีความผิดปกติของสมองร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่เป็นอาการชักจากไข้ชนิดสามัญ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่ไม่รุนแรงและมักไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อสมอง เชาวน์ปัญญา และพัฒนาการของเด็ก แม้ว่าอาจชักซ้ำมากกว่า 1 ครั้งก็ตาม

โดยเฉลี่ยเด็กที่มีอาการชักจากไข้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมชักเมื่อโตขึ้น ประมาณร้อยละ 1-2 ซึ่งสูงกว่าเด็กทั่วไปเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการชักจากไข้ชนิดซับซ้อน มีประวัติโรคลมชักในครอบครัว มีอาการผิดปกติทางสมอง (เช่น สมองพิการ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ) มีพัฒนาการช้า หรือเกิดอาการชักภายในเวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมงหลังมีไข้

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก ซึ่งมีสิ่งตรวจพบดังนี้

ขณะที่มาพบแพทย์ เด็กมักจะหายชักแล้ว แต่บางรายอาจมีอาการชักซ้ำให้เห็น

ส่วนมากมักจะมีไข้สูงและพบอาการของโรคที่พบร่วม

กรณีที่จำเป็น อาจต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ และอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยโรคที่พบร่วม

หากสงสัยมีการติดเชื้อในสมอง ก็จะทำการเจาะหลังนำน้ำไขสันหลังไปตรวจ

การรักษาโดยแพทย์

1. ถ้าพบเด็กขณะมีอาการชัก ให้ถอดเสื้อผ้าเด็กออกแล้วใช้ผ้าชุบน้ำก๊อกโปะทั้งตัว เปลี่ยนผ้าชุบน้ำใหม่ทุก 2 นาที ถ้าชักนานเกิน 5 นาที แพทย์จะให้ไดอะซีแพมฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือเหน็บทางทวารหนัก

ถ้าไม่หยุดชัก หรือมีอาการซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรืออาเจียนมาก แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ในรายที่สงสัยเป็นโรคติดเชื้อทางสมอง อาจต้องทำการเจาะหลัง และตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม

2. ในกรณีที่เด็กหยุดชักแล้ว จะค้นหาสาเหตุของอาการไข้ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

สำหรับอาการชักจากไข้ครั้งแรก แพทย์จะพิจารณาทำการเจาะหลัง (เพื่อนำน้ำไขสันหลังไปตรวจ) ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 เดือน หรือได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมาก่อน (เนื่องเพราะเด็กกลุ่มนี้อาจเป็นโรคติดเชื้อทางสมองที่แสดงอาการไม่ชัดเจนก็ได้)

การดูแลตนเอง

หากเด็กมีอาการไข้ร่วมกับชัก ควรทำการปฐมพยาบาล และพาเด็กไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว แม้ว่าเด็กจะหยุดชักแล้ว เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด

ควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันที ถ้าเด็กมีอาการชักนานเกิน 5 นาที ชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง หรือมีอาการซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรืออาเจียนมาก หรือพบอาการชักในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนหรือมากกว่า 5 ปี

เมื่อตรวจพบว่าเป็นอาการชักจากไข้ (โดยไม่มีความผิดปกติของสมอง) ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด

ควรกลับไปปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือชักซ้ำ
    อาเจียน กินอาหารไม่ได้ และดื่มน้ำได้น้อย
    มีอาการที่สงสัยว่าเป็นผลข้างเคียงจากยาหรือแพ้ยา

การปฐมพยาบาลเด็กที่มีอาการชักจากไข้

เมื่อพบเด็กมีอาการชักจากไข้ พ่อแม่ควรตั้งสติให้ดี อย่าตกใจจนเกินเหตุ และควรให้การปฐมพยาบาล ดังนี้

    จับเด็กนอนหงาย โดยตะแคงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือจับเด็กนอนตะแคง พร้อมกับเชยคางขึ้นเล็กน้อย ควรให้นอนบนพื้นที่โล่งและปลอดภัย ระวังอย่าให้พลัดตกหรือกระทบกระแทกถูกสิ่งกีดขวาง
    ถ้ามีน้ำลาย เสมหะ หรือเศษอาหารในบริเวณปากหรือใบหน้า ควรเช็ดหรือดูดออก เพื่อไม่ให้เด็กสำลัก
    ถอดหรือปลดเสื้อผ้าให้หลวม แล้วรีบใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวเพื่อลดไข้
    เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด สังเกตลักษณะการชักและจับระยะเวลาของการชัก เพื่อแจ้งให้แพทย์หรือผู้ที่ให้การรักษาทราบในภายหลัง
    ถ้ามียาเหน็บแก้ชักที่แพทย์สั่งให้สำรองไว้ใช้ ให้รีบทำการเหน็บทวารเด็กตามคำแนะนำของแพทย์
    อย่าผูกหรือมัดตัวเด็ก หรือใช้แรงฝืนหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของเด็ก
    อย่าใช้วัตถุ (เช่น ไม้ ด้ามช้อน ปากกา ดินสอ) สอดใส่ปากเด็ก อาจทำให้ปากและฟันได้รับบาดเจ็บได้
    อย่าป้อนอาหาร ยา หรือน้ำให้เด็กระหว่างชัก หรือหลังชักใหม่ ๆ อาจทำให้เด็กสำลักได้
    ถ้ามีไข้สูง ใช้ผ้าชุบน้ำจากก๊อกประปาหรือน้ำอุ่นเช็ดตัวเพื่อลดไข้
    ควรนำเด็กส่งสถานพยาบาลใกล้บ้านทันที ถ้าเด็กมีอาการชักนานเกิน 5 นาที หรือเป็นการชักครั้งแรก (แม้ว่าจะชักเพียงช่วงสั้น ๆ ก็ตาม) หรือมีอาการอาเจียน ซึม หรือหายใจลำบาก

การป้องกัน

เด็กที่เคยมีอาการชักจากไข้มาครั้งหนึ่งแล้ว บางรายอาจมีอาการชักซ้ำได้อีกเมื่อมีไข้ขึ้น การป้องกันไม่ให้ชักจากไข้ซ้ำ สามารถกระทำได้ดังนี้

    ทุกครั้งที่เด็กเริ่มมีไข้ ควรให้ยาลดไข้-พาราเซตามอลทันที ควรเช็ดตัวเด็กด้วยน้ำบ่อย ๆ ไม่ควรให้เด็กใส่เสื้อผ้าหนา ๆ หรือห่มผ้าหนา เพราะจะทำให้ตัวร้อนยิ่งขึ้น

    กินยากันชักตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งในปัจจุบันแพทย์จะพิจารณาให้ยากันชัก เช่น ฟีโนบาร์บิทาล โซเดียมวาลโพรเอต (sodium valproate) เป็นต้น เฉพาะสำหรับเด็กบางรายที่มีข้อบ่งชี้ เช่น มีความผิดปกติของสมองหรือโรคลมชักร่วมด้วย โดยจะให้กินอย่างต่อเนื่องทุกวันนานเป็นแรมปี บางรายอาจให้ทานหลายปี

ส่วนอาการชักจากไข้ที่ไม่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการชักจากไข้ชนิดสามัญ แพทย์จะหลีกเลี่ยงการใช้ยากันชักโดยไม่จำเป็น เนื่องเพราะยากันชักทุกชนิดมีผลข้างเคียงซึ่งอาจมีโทษต่อเด็กมากกว่าอันตรายจากตัวโรคเอง

ข้อแนะนำ

1. อาการชักจากไข้ที่ไม่มีสาเหตุจากโรคติดเชื้อของสมอง มักพบในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี ถ้าพบในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน หรือมากกว่า 5 ปี หรือผู้ใหญ่ จำเป็นต้องทำการตรวจหาความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง

อาการชักจากไข้แม้ดูน่ากลัว แต่ส่วนใหญ่มักไม่มีอันตรายแต่อย่างใด มักจะชักเพียงช่วงสั้น ๆ (ไม่กี่นาที) และชักเพียงครั้งเดียวในชีวิต บางรายอาจชักซ้ำ 1-2 ครั้ง และเมื่อพ้นอายุ 5 ปีก็มักไม่มีอาการชักจากไข้

2. เด็กส่วนน้อยอาจชักซ้ำเมื่อมีอาการไข้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

    ชักครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 18 เดือน
    ระยะมีไข้นำมาก่อนชัก ถ้ายิ่งสั้นมีความเสี่ยงต่อการชักซ้ำยิ่งสูง
    มีประวัติโรคลมชัก หรืออาการชักจากไข้ในครอบครัว
    มีอาการชักขณะไข้ไม่สูงมาก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการชักซ้ำสูงกว่าเด็กที่ชักขณะมีไข้สูง

4
วัดปอแดงไหว้พระพุทธรูปปางประทานพรศักดิ์สิทธิ์เชิญชวนใส่ชุดแม่ชี ปฏิบัติธรรมสวดมนต์เจริญสติ

วัดปอแดงเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเสียงในเรื่องของความสวยงามและความศักดิ์สิทธิ์ วัดปอแดงเป็นวัดที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีภาพเขียนฝาผนังที่สวยงามและมีเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาใส่ชุดขาว ชุดขาวชาย ชุดขาวหญิง ชุดขาวปฏิบัติธรรม มาเที่ยววัดปอแดงมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย

เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ พระพุทธรูปปางประทานพร และพระพุทธรูปปางสมาธิ วัดปอแดงเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นวัดที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักแต่มีความงดงามไม่แพ้กัน เป็นสถานที่พักผ่อนอันเงียบสงบที่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสบรรยากาศที่เงียบสงบ ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทำให้วัดแห่งนี้เป็นอัญมณีที่ซ่อนเร้นสำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมไทยแบบดั้งเดิมและการปฏิบัติธรรม

นครราชสีมาหรือที่มักเรียกกันว่าโคราช เป็นที่ตั้งของวัดศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย หนึ่งในนั้นคือวัดปอแดงซึ่งเป็นสถานที่เงียบสงบและเป็นแหล่งรวมจิตวิญญาณที่สมบูรณ์แบบสำหรับนักเดินทางทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ต้องการสำรวจวัฒนธรรมพุทธที่หยั่งรากลึกของประเทศไทย

วัดแห่งนี้ตั้งชื่อตามเจดีย์สีแดงอันโดดเด่นที่ตั้งเด่นเป็นสง่าในบริเวณวัด โครงสร้างสีแดงอันโดดเด่นนี้ไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนของพลังทางจิตวิญญาณเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สำหรับการทำสมาธิและการไตร่ตรองอีกด้วย ผู้เยี่ยมชมมักจะพบกับความสงบที่นี่ โดยห่างไกลจากสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้คนพลุกพล่าน

สถานที่สำหรับการทำสมาธิและไตร่ตรอง
วัดปอแดงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับผู้ที่แสวงหาความสงบและความสงบภายใน วัดแห่งนี้มักจัดปฏิบัติธรรมและปฏิบัติธรรมเป็นประจำ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้มาเยี่ยมชมได้เชื่อมต่อกับจิตวิญญาณของตนเอง บรรยากาศที่เงียบสงบรายล้อมด้วยต้นไม้เขียวขจีทำให้สามารถนั่งสมาธิและไตร่ตรองชีวิตได้อย่างง่ายดาย

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่มีประสบการณ์หรือเป็นมือใหม่ วัดแห่งนี้ก็มีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรสำหรับผู้ที่สนใจในการเรียนรู้เทคนิคการเจริญสติแบบพุทธ

ความงามทางสถาปัตยกรรม
วัดแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของสถาปัตยกรรมพุทธแบบไทยดั้งเดิมการแกะสลักที่ประณีตและการออกแบบที่ซับซ้อนบนโครงสร้างของวัดสะท้อนให้เห็นถึงความทุ่มเทอย่างลึกซึ้งต่องานฝีมือ เจดีย์สีแดงของวัดเป็นจุดดึงดูดสายตาที่สุด แต่สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ภายในบริเวณนี้ก็มีความน่าประทับใจไม่แพ้กัน โดยมีรูปปั้นพระพุทธเจ้าและพระบรมสารีริกธาตุที่งดงาม

บริเวณวัดได้รับการดูแลเป็นอย่างดี มีสวนที่ได้รับการดูแลอย่างดีต้นไม้โบราณและทางเดินที่เหมาะแก่การเดินเล่น ผู้เยี่ยมชมมักจะหลงใหลไปกับสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบและความสมดุลที่ลงตัวระหว่างธรรมชาติและสถาปัตยกรรม

เคล็ดลับการเยี่ยมชม
แต่งกายสุภาพ : เช่นเดียวกับวัดอื่นๆ ในประเทศไทย ผู้เยี่ยมชมควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ควรปกปิดไหล่และเข่าเมื่อเข้าไปในบริเวณวัด
เคารพมารยาทในวัด : งดส่งเสียงดังหรือรบกวนผู้ที่กำลังทำสมาธิหรือสวดมนต์
เวลาที่ดีที่สุดในการเยี่ยมชม : เช้าตรู่หรือบ่ายแก่ๆ ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเยี่ยมชมวัดโพธิ์แดง ช่วงเวลาดังกล่าวมีบรรยากาศที่เงียบสงบ และแสงนวลๆ ในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกจะช่วยเพิ่มความงามให้กับวัด
วิธีการเดินทาง
วัดปอแดงตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองนครราชสีมาโดยใช้เวลาขับรถประมาณ 1 ชั่วโมง แม้ว่าจะมีระบบขนส่งสาธารณะให้บริการ แต่ขอแนะนำให้เช่ารถส่วนตัวหรือแท็กซี่เพื่อความสะดวก

วัดปอแดงเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสประสบการณ์ทางจิตวิญญาณของประเทศไทยไม่ควรพลาด เป็นสถานที่ที่คุณจะได้พบกับความสงบ ชื่นชมสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีความหมาย ไม่ว่าคุณจะสนใจการทำสมาธิ พุทธศาสนา หรือเพียงแค่มองหาสถานที่สงบเงียบเพื่อไตร่ตรอง วัดแห่งนี้มอบประสบการณ์อันเป็นเอกลักษณ์และเติมเต็มจิตใจในใจกลางเมืองนครราชสีมา หากคุณวางแผนที่จะเดินทางไปเที่ยวบริเวณโคราช อย่าพลาดโอกาสที่จะไปเยี่ยมชมวัดโพธิ์แดงและดื่มด่ำกับบรรยากาศอันเงียบสงบ

5
มอเตอร์ไซด์ใหม่: ฮอนด้า Honda Click 160 (Standard) ปี 2024
69,900 บาท

ฮอนด้า Honda Click 160 (Standard) ปี 2024
Honda Click160 Standard มาพร้อมระบบไฟ LED รอบคัน และ Honda Smart Key กุญแจรีโมตอัจฉริยะ ทั้งยังอัดแน่นด้วยขุมพลังจากเครื่องยนต์ eSP+ 4 วาล์ว 157 ซีซี แรงที่สุดในคลาส บิดติดมือ พร้อมเทคโนโลยีเหนือชั้น ขับขี่สมูท เสริมความปลอดภัยเต็มอัตราระบบ Combi Brake เทคโนโลยีกระจายแรงเบรก ช่วยหยุดรถได้อย่างมั่นใจ พร้อม 3 สีใหม่ ได้แก่ สีเทา-ดำ Pearl Smoky Grey, สีดำ Shiny Jet Black และ สีแดง-ดำ Rustic Red ราคาแนะนำที่ 69,900 บาท

รายละเอียดเบื้องต้น
   แบรนด์            Honda
   รุ่น                 ฮอนด้า Honda Click 160 (Standard) ปี 2024
   ประเภทรถ        Sport Scooter
   ปีที่เปิดตัว         2024
   ราคา              69,900 บาท

สเปค
   รูปแบบเกียร์             เกียร์ออโต้
   ระบบเกียร์               V-Matic
   รายละเอียดเครื่องยนต์  eSP+ ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI 4 จังหวะ แบบ SOHC
   ระบบระบายความร้อน    น้ำ
   ระบบสตาร์ท               สตาร์ทไฟฟ้า (มือ)
   ขนาดเครื่องยนต์ (CC)  156.93 CC
   แบบเครื่องยนต์           4 จังหวะ
   ระบบจุดระเบิด             Full Transistorized
   ประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง   เบนซิน 91, แก๊สโซฮอล์ 95 (E10), แก๊สโซฮอล์ E20
   ระบบจ่ายน้ำมัน             หัวฉีด
   ความจุถังน้ำมัน (ลิตร)     5.5 ลิตร
   ระบบกันสะเทือน           ล้อหน้า เทเลสโคปิค, ล้อหลัง ยูนิตสวิง
   ระบบเบรค                  ล้อหน้า ดิสก์เบรก (CBS), ล้อหลัง ดรัมเบรก ()
   แบบวงล้อ                   แมกซ์
   ขนาดยาง                       ล้อหน้า 100/80-14M/C 48P Tubeless, ล้อหลัง 120/70-14M/C 61P Tubeless
   ขนาด (ยาวxกว้างxสูง มม.)  1,929x679x1,088
   น้ำหนักตัวรถ                     116.00 กก.

6
หมอออนไลน์: ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease/COPD)

ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง หมายถึงภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีอยู่หลายโรค ที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมปอดโป่งพอง ทั้ง 2 โรคนี้มักจะพบร่วมกัน ทำให้มีการลดลงของอัตราการไหลเวียนของลมหายใจผ่านปอดขณะหายใจออก จึงมีอากาศคั่งค้างอยู่ในปอดมากกว่าปกติ ประกอบกับการแลกเปลี่ยนอากาศขึ้นได้น้อยกว่าปกติ (มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงขึ้น) เป็นเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยง่าย

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องเรื้อรัง เป็นผลมาจากการถูกสารพิษในบุหรี่หรือสิ่งระคายเคือง ทำให้ขนอ่อน (cilia) พิการ ไม่สามารถโบกพัดเพื่อขจัดเชื้อโรคและสิ่งระคายเคืองออกไป เมื่อเยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบเรื้อรัง ก็จะทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดลมมีการเพิ่มจำนวนและหนาตัวขึ้น รวมทั้งต่อมเมือก (mucous glands) บวมโตและหลั่งเมือก (เสมหะ) ออกมากกว่าปกติ จนทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง เกิดภาวะอุดกั้นขึ้น แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการไอมีเสมหะมากติดต่อกันทุกวันปีละมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี

ถุงลมปอดโป่งพอง (ถุงลมพอง ก็เรียก) หมายถึง ภาวะพิการอย่างถาวรของถุงลมในปอด ปกติถุงลมอยู่ปลายสุดของปอด ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนล้าน ๆ ถุง เป็นถุงอากาศเล็ก ๆ มีหลอดเลือดหุ้มอยู่โดยรอบ เป็นที่ซึ่งเกิดการแลกเปลี่ยนอากาศ กล่าวคือ ก๊าชออกซิเจนในถุงลมซึมผ่านผนังถุงลมและหลอดเลือดเข้าไปในกระแสเลือดและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด ซึมกลับออกมาในถุงลม ถุงลมที่ปกติจะมีผนังที่ยืดหยุ่น ทำให้ถุงลมหดและขยายตัวได้คล้ายฟองน้ำ ซึ่งช่วยให้การแลกเปลี่ยนอากาศเป็นไปอย่างเต็มที่ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมปอดโป่งพอง จะมีผนังถุงลมที่เสียความยืดหยุ่นและเปราะง่าย ทำให้ถุงลมสูญเสียหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอากาศ นอกจากนี้ผนังของถุงลมที่เปราะยังมีการแตกทะลุ ทำให้ถุงลมขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ อันรวมตัวเป็นถุงลมที่โป่งพองและพิการ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ จำนวนพื้นผิวของถุงลมที่ยังทำหน้าที่ได้ทั้งหมดลดน้อยลงกว่าปกติ ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย

ทั้ง 2 โรคนี้มักจะเกิดร่วมกัน จนบางครั้งแยกกันไม่ออก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หลอดลมอักเสบเรื้อรังจะพบมากในช่วงอายุ 30-60 ปี ส่วนถุงลมปอดโป่งพองพบมากในช่วงอายุ 45-65 ปี ส่วนใหญ่จะมีประวัติสูบบุหรี่จัด (มากกว่าวันละ 20 มวน) มานานเป็น 10-20 ปีขึ้นไป หรือไม่ก็มีประวัติอยู่ในที่ที่มีอากาศเสีย สูดควันเป็นประจำ หรือมีอาชีพทำงานในโรงงาน หรือเหมืองแร่ที่หายใจเอาสารระคายเคืองเข้าไปเป็นประจำ

สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากสารพิษในบุหรี่ที่สูบเข้าไปทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลมในปอด ซึ่งค่อย ๆ เกิดขึ้น และลุกลามรุนแรงขึ้นอย่างช้า ๆ และในที่สุดเกิดความพิการอย่างถาวรดังกล่าวข้างต้น (พบว่าประมาณร้อยละ 15-20 ของผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะเกิดภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง)

ส่วนน้อยอาจเกิดจากมลพิษในอากาศ (เช่น ฝุ่น สารเคมี) จากการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง และอาจเสี่ยงมากขึ้น เมื่อมีการสูบบุหรี่ร่วมด้วย   

ในบางพื้นที่ (เช่น เขตเขาทางภาคเหนือ) พบว่าเกิดจากการใช้ฟืนหุงต้มหรือก่อไฟภายในบ้านที่ขาดการถ่ายเทอากาศ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยสูดควันอยู่ประจำจนเป็นพิษต่อทางเดินหายใจ

ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหืด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่าคนปกติ และการสูบบุหรี่ยิ่งทำให้เสี่ยงมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าอาจเกิดจากภาวะพร่องสารต้านทริปซิน (alpha1-antitrypsin ซึ่งเป็นโปรตีนป้องกันไม่ให้ถุงลมปอดถูกสารพิษทำลาย) ภาวะนี้พบได้น้อย สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และมักเกิดอาการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 40-50 ปี

อาการ

ระยะที่เริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (อาจเริ่มในช่วงอายุ 30-40 ปี) จะมีอาการไอมีเสมหะเรื้อรังทุกวันเป็นแรมเดือนแรมปี ผู้ป่วยมักจะไอหรือขากเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้าเป็นประจำ จนนึกว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่ได้ใส่ใจดูแลรักษา ต่อมาจะไอถี่ขึ้นตลอดทั้งวัน และมีเสมหะจำนวนมาก ในช่วงแรกมีลักษณะเป็นสีขาว ต่อมาอาจเป็นสีเหลืองหรือเขียว มีไข้ขึ้นหรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราวจากโรคติดเชื้อแทรกซ้อน

ถ้าไม่หยุดสูบบุหรี่ จนมีโรคถุงลมปอดโป่งพองตามมา (อาจใช้เวลามากกว่า 10 ปี จากระยะเริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง) นอกจากอาการไอเรื้อรังแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่ายเฉพาะเวลาออกแรงมาก หรือเมื่อมีโรคติดเชื้อแทรก (เช่น มีไข้ ไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียว) อาการหอบเหนื่อยจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้น แม้แต่เวลาพูดหรือเดินหรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย จนในที่สุด (อาจใช้เวลา 5-10 ปีขึ้นไป) แม้แต่อยู่เฉย ๆ ก็รู้สึกหอบเหนื่อย ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถหายใจแลกเปลี่ยนอากาศ (ออกซิเจน) ได้เพียงพอต่อการนำไปเลี้ยงร่างกายให้เกิดพลังงาน

ในระยะหลัง ผู้ป่วยมักมีอาการกำเริบหนักเป็นครั้งคราวเมื่อมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ทำให้มีไข้และไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว หายใจหอบ ตัวเขียว จนต้องเขารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

บางครั้งอาจมีภาวะหัวใจวายแทรกซ้อน

เมื่อเป็นถึงขั้นระยะรุนแรง ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด รูปร่างผ่ายยอม และมีอาการเหนื่อยหอบอยู่ตลอดเวลา มีอาการทุกข์ทรมาน และรู้สึกท้อแท้

ภาวะแทรกซ้อน

มักมีการติดเชื้อแทรกซ้อนเป็นครั้งคราว เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีอาการหอบกำเริบรุนแรง ระยะแรก ๆ ประมาณปีละ 1-2 ครั้ง แต่เมื่อโรคถุงลมปอดโป่งพองเป็นรุนแรงมากขึ้น ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ถี่ขึ้นจนผู้ป่วยอาจต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลบ่อย

ระยะรุนแรง ผู้ป่วยมักมีภาวะการหายใจล้มเหลวเรื้อรัง (chronic respiratory failure) ร่วมด้วย และอาจมีภาวะหัวใจวายแทรกซ้อน มีอาการหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ หลอดเลือดที่คอโป่ง เท้าบวม ตับโต หัวใจห้องขวาล่างโต เรียกว่า โรคหัวใจเหตุจากปอด (cor pulmonale)

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ปอดทะลุ จากการที่ถุงลมส่วนนอก (ใกล้เยื่อหุ้มปอด) แตก ไอออกเป็นเลือดจากการอักเสบของหลอดลม ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก (polycythemia ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด หรือ phrombosis) ไส้เลื่อน กำเริบเนื่องจากอาการไอเรื้อรัง เป็นต้น

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก

ในระยะแรก อาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน

ระยะต่อมาใช้เครื่องฟังตรวจปอดมักได้ยินเสียงอึ๊ด (rhonchi) เสียงกรอบแกรบ (crepitation) เสียงวี้ด (wheezing) และ/หรือเสียงหายใจออกยาว (prolonged expiration) ในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนมักมีไข้ร่วมด้วย

ในระยะที่เป็นมากขึ้น อาจพบอาการหายใจเร็ว หน้าอกมีอาการเคาะโปร่ง (hyperresonant) และเมื่อใช้เครื่องฟังตรวจปอด จะพบเสียงหายใจค่อย (ฟังไม่ค่อยได้ยิน) เนื่องจากมีอากาศค้างอยู่ในถุงลม และลมหายใจเข้าออกได้น้อย ถ้ามีอากาศค้างอยู่ในถุงลมมาก ก็จะพบหน้าอกมีลักษณะเป็นรูปถังทรงกระบอก เรียกว่า อกถัง หรือ อกโอ่ง (barrel chest)

ในรายที่จำเป็นต้องวินิจฉัยโรคนี้ให้แน่ชัด แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ ทำการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry) เพื่อประเมินสมรรถภาพของปอด* ในรายที่เป็นระยะรุนแรงอาจทำการตรวจเลือดประเมินภาวะเม็ดเลือดแดงมาก (polycythemia) ซึ่งอาจพบในผู้ป่วยบางราย ตรวจระดับออกซิเจนในเลือด (ซึ่งจะต่ำกว่าปกติตั้งแต่ระยะแรก ๆ) และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (ซึ่งจะสูงกว่าปกติในระยะต่อมา) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น ในรายที่อายุต่ำกว่า 40 ปีอาจตรวจหาระดับสารต้านทริปซินในเลือด

* ดูค่า FEV1 (forced expiratory volume in one second) ซึ่งหมายถึง ปริมาตรอากาศที่หายใจออกใน 1 วินาที และค่า FVC (forced vital capacity) ซึ่งหมายถึง ปริมาตรอากาศที่หายใจออกจนสุดอย่างเต็มที่หนึ่งครั้ง

แพทย์จะประเมินจากค่า FEV1 และ FEV1/FVC (ค่า FEV1 หารด้วยค่า FVC) ซึ่งทั้ง 2 ค่านี้ถ้ายิ่งมีค่าต่ำ ก็ยิ่งบ่งชี้ว่ายิ่งมีความรุนแรง เช่น ในรายที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง มักมีค่า FEV1/ FVC < 70% และมีค่า FEV1 ≥ 80% ของค่ามาตรฐาน (ในรายที่เป็นเล็กน้อย) ระหว่าง 30-80% (ในรายที่เป็นปานกลาง) และ < 30% (ในรายที่เป็นรุนแรง)

การรักษาโดยแพทย์

นอกจากแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยแล้ว แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ให้ยาบรรเทาตามอาการ เช่น ถ้ามีเสียงวี้ด (wheezing) ให้ยาขยายหลอดลม กลุ่มยากระตุ้นบีตา 2 หรือไอพราโทรเพียมโบรไมด์ชนิดสูด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้ร่วมกัน ถ้ามีอาการหอบตอนดึก อาจให้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว ในรายที่เป็นรุนแรงมักจะให้สเตียรอยด์ชนิดสูดร่วมกับยาข้างต้น

2. ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เช่น มีไข้หรือมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว ก็จะให้ยาปฏิชีวนะ (เช่น อะม็อกซีซิลลิน, โคอะม็อกซิคลาฟ, อีริโทรไมซิน, ร็อกซิโทรไมซิน, ดอกซีไซคลีน, โคไตรม็อกซาโซล เป็นต้น) นาน 7-10 วัน

3. ในรายที่มีอาการหายใจหอบรุนแรง หรือสงสัยเป็นปอดอักเสบ ปอดทะลุ หรือภาวะหัวใจวาย แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ อาจต้องให้ออกซิเจน ใส่ท่อหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผลการรักษา ขึ้นกับระยะและความรุนแรงของโรค ถ้าเป็นระยะแรก (FEV1 > 50% ของค่ามาตรฐาน) และผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้เด็ดขาด ก็มักจะได้ผลดี โรคจะไม่ลุกลามรุนแรงมากขึ้น แต่ถ้าปล่อยให้ลุกลามจนถึงระยะรุนแรง (สมรรถภาพของปอดลดลงอย่างมากแล้ว คือ FEV1 < 30% ของค่ามาตรฐาน) ก็มักจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน (เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลว ปอดอักเสบ ปอดทะลุ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอด เป็นต้น) ภายใน 1–5 ปี โดยเฉลี่ยผู้ป่วยทุกระดับของความรุนแรงมีอัตราตายมากกว่าร้อยละ 50 ใน 10 ปีหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก

การดูแลตนเอง

หากมีอาการไอและเหนื่อยง่ายอย่างเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่สูบบุหรี่ หรืออยู่ในบรรยากาศที่มีฝุ่นควันนานๆ  ควรปรึกษาแพทย์

หากตรวจพบว่าเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือถุงลมปอดโป่งพอง ควรดูแลตนเอง ดังนี้

1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ที่สำคัญคือ เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด และหลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศ ดื่มน้ำมาก ๆ (วันละ 8-12 แก้ว) เพื่อช่วยขับเสมหะ

2. ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ โดยเรียนรู้วิธีใช้ยาที่ถูกต้อง และติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดอย่างต่อเนื่อง

3. ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีไข้สูง หรือมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
    เจ็บหน้าอกมาก หายใจหอบหรือหายใจลำบาก   
    ไอมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว หรือไอเป็นเลือด
    เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
    มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น นอนราบไม่ได้ (เพราะรู้สึกหายใจลำบาก) หรือเท้าบวม
    ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น
    หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
    มีความวิตกกังวล

การป้องกัน

1. ที่สำคัญคือ การไม่สูบบุหรี่

2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีมลพิษในอากาศ

3. หลีกเลี่ยงการใช้ฟืนก่อไฟภายในบ้านที่ขาดการถ่ายเทอากาศ

4. ถ้าเป็นโรคหลอดลมอักเสบและโรคหืด ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง

ข้อแนะนำ

1. ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ควรหมั่นพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเริ่มมีอาการไอบ่อยทุกวันโดยไม่มีสาเหตุอื่นชัดเจน

2. ผู้ที่เริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะแรกเริ่ม ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด จะช่วยให้อาการไม่ลุกลามมากขึ้น ผู้ป่วยควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาทางช่วยให้เลิกบุหรี่ ให้ยาบรรเทาตามอาการ ประเมินสมรรถภาพของปอดและภาวะแทรกซ้อนเป็นระยะ ๆ

3. ผู้ป่วยและญาติควรศึกษาให้เข้าใจถึงธรรมชาติของโรคและแนวทางการดูแลรักษา ญาติควรเข้ามามีบทบาทในการให้กำลังใจผู้ป่วย ในการเลิกบุหรี่และการติดตามรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดูแลเรื่องโภชนาการ (ผู้ป่วยระยะรุนแรงมักมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งจะทำให้ซ้ำเติมอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น) การให้ออกซิเจนที่บ้าน (สำหรับผู้ป่วยระยะรุนแรง) การใช้ยารักษาให้ครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด การพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน และการเตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (end of life) ให้มีคุณภาพ ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และไม่ให้สิ้นเปลืองเกินเหตุ

4. โรคถุงลมปอดโป่งพอง อาจมีอาการหายใจหอบและได้ยินเสียงวี้ดคล้ายโรคหืด แต่ต่างกันตรงที่ถุงลมปอดโป่งพองจะเริ่มมีอาการในคนอายุ 50-60 ปีขึ้นไปที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดหรือถูกมลพิษทางอากาศมาเป็นเวลานาน และมีอาการหอบเหนื่อยรุนแรงขึ้นทีละน้อยอย่างช้า ๆ (ใช้เวลานาน 5-10 ปีขึ้นไป) ส่วนโรคหืดมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยเด็ก มักมีประวัติโรคหืดหรือโรคภูมิแพ้ในครอบครัว และมีอาการหอบกำเริบเป็นครั้งคราว บางครั้งก็อาจแยกกันไม่ได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในคนอายุมาก อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 โรคนี้มีแนวทางการดูแลรักษาคล้ายกัน และควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์เป็นหลัก

7
การจัดฟันเด็ก ช่วยแก้ไขปัญหาฟันแท้ขึ้นไม่ได้

ในปัจจุบันนี้ ถือว่าวงการทันตกรรมของเรามีการพัฒนาขึ้นมาก ด้วยมีการนำนวัตกรรมเช้ามาใช้ในการรักษา ทำให้คนมักหันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันมากยิ่งขึ้น ซึ่งในสมัยนี้เด็กในวัยประถมก็สามารถเข้ารับการจัดฟันได้แล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำเด็กๆ อายุต่ำว่า 10 ปี มาตรวจกับทันตแพทย์จัดฟันได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวัยรุ่น หรือไม่จำเป็นต้องรอให้ฟันแท้ขึ้น ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ ยิ่งถ้าหากพ่อแม่ผู้ปกครองพบปัญหาการสบฟันที่ก็ควรพาเด็กเข้ามาพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการจัดฟันในเด็ก นอกจากนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองควรเอาใจใส่ในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันของลูกน้อย เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น การสบฟันที่ผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการดูดนิ้ว

การดูดขวดนม ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันของลูกน้อย ถือว่าเป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญ เพราะการที่ลูกมีฟันผุตั้งแต่อายุยังน้อย และรุนแรงไปจนถึงการสูญเสียฟันก่อนเวลาอันควร ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่เลยทีเดียว เพราะถ้าหากบุตรหลานของท่านยังมีฟันแท้ขึ้นไม่ครบ ก็ควรรีบเข้ารับการแก้ไข เพราะอาจจะมีสาเหตุมาจากการที่ฟันน้ำนมหลุดก่อนวัยอันควร เนื่องจากจะทำให้เด็กอาจมีปัญหาฟันฝัง ฟันขึ้นเองไม่ได้ตามธรรมชาติ มีทั้งฟันหน้า ฟันเขี้ยว หากปล่อยไว้ไม่รักษา เด็กอาจไม่มีฟันธรรมชาติใช้งาน หากฟันหน้าหาย ก็จะกลายเป็นคนฟันหลอ มีปัญหาเรื่องบุคลิกภาพได้

 สำหรับวันนี้ทางคลินิกของเรามาจะพูดถึงการจัดฟันในเด็กที่ช่วยแก้ไขปัญหาฟันแท้ขึ้นไม่ได้ เพราะส่งผลเสียต่อเด็กได้ในอนาคต ก่อนอื่น พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรทำความเข้าใจในเรื่องของฟันน้ำนมของลูกก่อนว่า จริงๆแล้ว ฟันน้ำนมของลูกนั้น มีความสำคัญมาก เพราะส่งผลต่อการขึ้นของฟันแท้ ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่า ฟันน้ำนมของลูกไม่มีความสำคัญเพราะคิดว่า เดี๋ยวฟันแท้ก็ขึ้น ซึ่งต้องบอกเลยว่า เป็นความเข้าใจที่ผิด และส่งผลร้ายแรงต่อฟันของเด็กได้

เพราะถ้าฟันน้ำนมผุและหลุดก่อนเวลา อาจจะส่งผลทำให้ฐานฟันแท้ที่กำลังจะสร้างเสร็จล้มเหลวลงได้ และเป็นสาเหตุทำให้ฟันแท้ไม่ขึ้น หรือขึ้นแต่ก็มีความผิดปกติได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟัน อาจช่วยแก้ไขอาการฟันแท้หาย เนื่องจากฟันฝัง ด้วยการผ่าตัดเล็ก แล้วติดเครื่องมือลงบนฟันฝัง จากนั้นจึงค่อยๆ ให้แรง เพื่อดึงฟันฝังให้โผล่ขึ้นในตำแหน่งที่เหมาะสมได้นั่นเอง ซึ่ง ความผิดปกตินี้ ถ้าหากตรวจพบได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสแก้ไขได้สำเร็จมากขึ้นเท่านั้น ถ้าหากทันตแพทย์ทำการตรวจและพบว่า  เด็กมีอาการฟันหาย ก็ควรเข้ารับการจัดฟันเพื่อแก้ไขปัญหาทันที

 อย่างไรก็ตาม หากพ่อแม่ผู้ปกครองท่านใด สนใจพาบุตรหลานของท่านเข้ารับการรักษาด้วยการจัดฟันในเด็ก สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่คลินิกเพราะทางเรามีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดฟัน และมีประสบการณ์อย่างยาวนานด้านทันตกรรมทุกรูปแบบ เรียกได้ว่ามาที่เดียวจบทุกบริการเลยทีเดียว เพราะเราใส่ใจในเรื่องของช่องปากและฟัน อยากให้เด็กได้มีฟันที่สวยงาม เพื่อรอยยิ้มที่สดใส สมวัย และเพื่อเสริมสร้างในเรื่องของพัฒนาการของลูกน้อย เพื่อที่จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

8
สร้างอาชีพด้วย ข้าวผัดรถไฟ ข้าวผัดโบราณหอมๆ ทำง่ายๆ แต่อร่อยมาก

ข้าวผัดรถไฟเป็นเมนูข้าวผัดโบราณที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยรสชาติที่หอมอร่อย ทำง่าย และใช้วัตถุดิบไม่มาก ทำให้เป็นเมนูที่เหมาะสำหรับการสร้างอาชีพ ต่อไปนี้เป็นสูตรและเคล็ดลับในการทำข้าวผัดรถไฟให้อร่อยและขายดี:

ส่วนผสม:

ข้าวสวย (ข้าวเก่าจะดีกว่า) 2 ถ้วย
หมูหมัก (หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ตามชอบ) 150 กรัม
ไข่ไก่ 2 ฟอง
คะน้าหั่น 1 ถ้วย
หอมใหญ่หั่นเต๋า 1/2 หัว
มะเขือเทศหั่นเต๋า 1 ลูก
กระเทียมสับ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วดำหวาน 1 ช้อนชา (เพื่อสีสัน)
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
พริกไทยป่น เล็กน้อย
ต้นหอมซอย (สำหรับโรยหน้า)


วิธีทำ:

เตรียมวัตถุดิบ:
หั่นหมูเป็นชิ้นพอดีคำ
หั่นผักต่างๆ เตรียมไว้
ตอกไข่ใส่ชาม ตีให้เข้ากัน

ผัด:
ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันพืช
ใส่กระเทียมสับ ผัดให้หอม
ใส่หมู ผัดจนสุก
ใส่ไข่ ยีให้เข้ากัน
ใส่ข้าวสวย ผัดให้เข้ากัน
ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ซอสหอยนางรม ซีอิ๊วดำหวาน น้ำตาลทราย และพริกไทยป่น ผัดให้เข้ากัน
ใส่คะน้า หอมใหญ่ และมะเขือเทศ ผัดให้เข้ากัน
โรยต้นหอมซอย
ตักใส่จาน เสิร์ฟร้อนๆ


เคล็ดลับความอร่อย:

ข้าว: ใช้ข้าวสวยเก่าจะทำให้ข้าวผัดร่วนอร่อย
ไฟแรง: ผัดด้วยไฟแรงจะทำให้ข้าวผัดมีกลิ่นหอมและไม่แฉะ
ปรุงรส: ปรุงรสให้กลมกล่อมตามชอบ
ผัก: ใส่ผักตามชอบ เช่น แครอท หรือผักกาดขาว
เพิ่มตัวเลือก: เพื่อเพิ่มความหลากหลาย อาจเพิ่มไข่ดาวหรือไส้กรอก


เคล็ดลับทำขาย:

เตรียมวัตถุดิบ: เตรียมวัตถุดิบไว้ล่วงหน้า เพื่อความรวดเร็วในการผัด
บรรจุภัณฑ์: เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและสวยงาม
ราคา: กำหนดราคาขายที่เหมาะสมกับต้นทุนและกลุ่มลูกค้า
โปรโมท: โปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook, Line หรือ Instagram
บริการ: ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ และใส่ใจลูกค้า
รักษาความสะอาด: รักษาความสะอาดของวัตถุดิบ อุปกรณ์ และสถานที่ทำอาหาร


ช่องทางการขาย:

ตลาดนัด: ขายข้าวผัดรถไฟในตลาดนัด
ร้านอาหาร: เปิดร้านขายข้าวผัดรถไฟโดยเฉพาะ หรือขายในร้านอาหารตามสั่ง
เดลิเวอรี่: ขายข้าวผัดรถไฟผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่
งานออกร้าน: เข้าร่วมงานออกร้านอาหารต่างๆ

ด้วยสูตรและเคล็ดลับเหล่านี้ คุณสามารถสร้างอาชีพด้วยข้าวผัดรถไฟได้อย่างแน่นอน

9
บ้านโครงการใหม่ 2025 โมเดน กาญจนาฯ - บางใหญ่ (Moden Kanchana - Bangyai)
เริ่มต้น 4.59 ลบ. - 7 ลบ. 

โมเดน กาญจนาฯ - บางใหญ่ (Moden Kanchana - Bangyai)
บ้านเดี่ยวดีไซน์ใหม่ "English Cottage Style" บ้านที่มีการออกแบบด้วยฟังก์ชันต่างๆ ที่ลงตัว การดีไซน์ที่ได้แรงบันดาลใจจากสีพาสเทลของธรรมชาติ พร้อมพื้นที่ใช้สอยและส่วนกลางในสไตล์ English Cottage แบบสวนชนบทอังกฤษในนวนิยายวัยเด็ก ที่พร้อมให้ลูกบ้านได้พักผ่อนได้อย่างเต็มที่ และผ่อนคลายไปกับบรรยากาศโดยรอบของโครงการ

รายละเอียดโครงการ
 ชื่อโครงการ            โมเดน กาญจนาฯ - บางใหญ่ (Moden Kanchana - Bangyai)
 เจ้าของโครงการ       เอพี (ไทยแลนด์)
 แบรนด์ย่อย            โมเดน
 ราคา                    เริ่มต้น 4.59 ลบ. - 7 ลบ.

 ประเภทบ้าน            บ้านเดี่ยว
 ลักษณะทำเล           บ้านใกล้เมือง
 พื้นที่โครงการ          63 ไร่ 3 งาน 46 ตร.ว.
 จำนวนบ้าน             287 หลัง
 แบบบ้านทั้งหมด      โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
  เนื้อที่บ้าน            โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 พื้นที่ใช้สอย          ตั้งแต่ 150 ถึง 240 ตร.ม.
 จำนวนชั้น              2 ชั้น
 หน้ากว้าง              โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนห้องนอน       โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนที่จอดรถ       ตั้งแแต่ 2 ถึง 3 คัน
 สาธารณูปโภค

สถานที่ใกล้เคียง
 โซน            ไทรน้อย
 ที่ตั้ง            ถนนบ้านกล้วย - ไทรน้อย ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

 ขนส่งสาธารณะ
ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีม่วง, สถานี(บางซื่อ - บางใหญ่)(คลองบางไผ่)
ใกล้ถนนสายหลัก (ถนนกาญจนาภิเษก, ถนนชัยพฤกษ์, ถนนราชพฤกษ์, ถนนรัตนาธิเบศร์)

 สถานที่สำคัญใกล้เคียง
ศูนย์การค้า/ไลฟ์สไตล์
1.Big C ไทรน้อย
2.Global House ไทรน้อย
3.Makro บางบัวทอง
4.Lotus’s บางกรวย-ไทรน้อย
5.Do Home บางบัวทอง
6.Big C Extra บางใหญ่
7.Central Westgate
8.IKEA บางใหญ่

สถานศึกษา
1.โรงเรียนไทรน้อย
2.โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบัวทอง
3.โรงเรียนกสิณธรเซนต์ปีเตอร์

 
โรงพยาบาล
1.โรงพยาบาลไทรน้อย
2.โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์
3.โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์

10
Doctor At Home: เเมงกะพรุนต่อย

แมงกะพรุนต่อย หมายถึง การบาดเจ็บที่เกิดจากการสัมผัสถูกแมงกะพรุนที่มีพิษ* โดยส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสถูกหนวดพิษ (tentacle)

หนวดพิษแต่ละเส้นจะมีเข็มพิษกระจายอยู่จำนวนมาก เข็มพิษจะบรรจุอยู่ในกระเปาะพิษ (nematocyst) ซึ่งจะมีน้ำพิษบรรจุภายใน และมีท่อนำพิษขดอยู่ โดยมีเข็มพิษอยู่ที่ปลายท่อ เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังของผู้บาดเจ็บ หรือเกิดแรงกระทบกระเทือน กระเปาะพิษก็จะถูกกระตุ้นให้ปล่อยพิษ โดยยิงเข็มพิษนำออกไปก่อนเพื่อปักลงไปในผิวหนัง หลังจากนั้นจึงดันเอาท่อนำพิษเข้าสู่ผิวหนังให้ลึกขึ้นอีก แล้วดันน้ำพิษเข้าไปสู่รางกายของผู้บาดเจ็บ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น

การถูกพิษแมงกะพรุน มักเกิดจากการการสัมผัสถูกแมงกะพรุนขณะลงเล่นน้ำ ว่ายน้ำ หรือดำน้ำในทะเล ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการใช้มือเปล่าจับ หรือเดินเท้าเปล่าไปเหยียบถูกหนวดของแมงกะพรุนที่นอนอยู่บนหาดทราย (กระเปาะพิษบนหนวดของแมงกะพรุนที่ตายแล้ว หรือหนวดที่หลุดออกยังสามารถปล่อยพิษกับผู้สัมผัสได้)

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสัมผัสถูกแมงกะพรุนแท้ (True jellyfish อันเป็นแมงกะพรุนไฟวงศ์ Pelagiidae) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดและมีพิษน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ จะมีเพียงอาการปวดแสบปวดร้อน หรือเป็นรอยแดงตามผิวหนัง ซึ่งมักจะหายได้เอง

ส่วนน้อยที่อาจถูกแมงกะพรุนที่มีพิษมาก บางรายอาจทำให้เกิดแผลเรื้อรัง และแผลเป็น

มีน้อยรายที่อาจสัมผัสถูกแมงกะพรุนกล่องที่มีพิษต่อหัวใจและระบบประสาท อาจทำให้เสียชีวิตได้**

ทั้งนี้ อาการรุนแรงมากน้อยขึ้นกับชนิดและขนาดของแมงกะพรุน ขนาดของพื้นผิวที่สัมผัส ระยะเวลาที่สัมผัสพิษ และปริมาณพิษที่ได้รับ

*ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วันที่ 19 เมษายน 2564 จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลแมงกะพรุนพิษ ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2564 โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบแมงกะพรุนพิษจำนวน 9 ชนิด ในน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะความเป็นพิษได้ 5 กลุ่ม เป็นแมงกะพรุนไฟ 2 กลุ่ม และแมงกะพรุนกล่อง (box jellyfish) 3 กลุ่ม ดังนี้

1. แมงกะพรุนไฟวงศ์ Pelagiidae (มีชื่อทั่วไปว่า แมงกะพรุนแท้/True jellyfish) พบจำนวน 2 ชนิด มีรูปร่างคล้ายร่มหรือกระดิ่งคว่ำ มีริ้วขอบร่ม มีลำตัวเป็นสีขาว สีแดงสด สีส้ม หรือหลากหลายสี มีหนวดที่ขอบร่ม (marginal tenacle) เป็นสายยาว และมีหนวดรอบปาก (oral arm) ห้อยย้อยลงมา ทำหน้าที่จับเหยื่อใส่ปาก พบได้ทั่วไปตลอดทั้งปี ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

แมงกะพรุนชนิดนี้มีคนสัมผัสถูกบ่อยที่สุด และมีพิษน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ มีพิษทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อน ไม่มีอันตรายร้ายแรง

2. แมงกะพรุนไฟวงศ์ Physaliidae (มีชื่อทั่วไปว่า แมงกะพรุนหัวขวด/Blue bottle jellyfish, แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส/Portuguese man-of-war) พบจำนวน 1 ชนิด มีลำตัวสีฟ้าอมชมพู ม่วง น้ำเงินหรือเขียว ส่วนบนของลำตัวที่ลอยโผล่พ้นน้ำ มีลักษณะเรียวรี ยาว คล้ายหมวกทหารเรือรบของโปรตุเกสในยุคก่อน ที่ขอบด้านบนสุดมีลักษณะเป็นสันย่น มีกลุ่มหนวดยาวสีฟ้าหรือสีม่วงออกมาจากด้านล่างเป็นสายยาวหลายเส้นเป็นพวงห้อยลงในน้ำ

ที่พบในทะเลไทยเป็นชนิด Physalia utriculus (เนื่องจากพบในมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย จึงมีชื่อเรียกว่า "แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิก/Indo-Pacific Portuguese man-of-war") พบในฝั่งอ่าวไทยช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน และฝั่งทะเลอันดามันช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน

แมงกะพรุนหัวขวดมีพิษร้ายแรงกว่าแมงกะพรุนทั่วไปข้างต้น พิษของแมงกะพรุนหัวขวดมีผลต่อระบบประสาท หัวใจ และผิวหนัง ทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก 

3. แมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chirodropidae พบจำนวน 3 ชนิด มีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์ มีสีฟ้าอ่อนหรือไม่มีสี ลักษณะโปร่งใสจนแทบมองไม่เห็น แต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมมีลักษณะคล้ายขายื่นออกมา และแต่ละขาจะมีหนวดพิษงอกออกมา ซึ่งมีลักษณะแตกแขนงหลายเส้น (ประมาณ 12-15 เส้น) มีความยาวถึง 3 เมตร พบได้เกือบทุกจังหวัดในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก อ่าวไทยตอนกลาง และทะเลอันดามัน (โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดตราด ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และเกาะสมุย เกาะพะงัน ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้)

แมงกะพรุนชนิดนี้มีพิษร้ายแรงที่สุด คือมีพิษรุนแรงต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อหัวใจ และการไหลเวียนของเลือดในปอด สามารถทำให้เสียชีวิตได้ แมงกะพรุนกล่องชนิดนี้ มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "ต่อทะเล (sea wasp)"

4. แมงกะพรุนกล่องวงศ์ Carukiidae พบจำนวน 2 ชนิด มีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์แบบเดียวกับวงศ์ Chirodropidae แต่มีหนวดพิษที่ยื่นออกจากมุมของรูปสี่เหลี่ยมเพียงมุมละเส้นเดียว (ไม่มีแตกแขนง) พบในเกือบทุกพื้นที่ และพบได้เกือบตลอดทั้งปี (โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะสมุย-เกาะพะงัน และทะเลอันดามัน)

มีพิษทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดอย่างรุนแรง และอาจทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "กลุ่มอาการอิรูคันจิ (Irukandji syndrome)" เป็นเหตุให้จมน้ำง่าย

5. แมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chiropsalmidae พบจำนวน 1 ชนิด มีรูปร่างมีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์ และมีหนวดแตกแขนงหลายเส้นแบบเดียวกับวงศ์ Chirodropidae แต่มีจำนวนเส้นน้อยกว่าและสั้นกว่า พบได้ตลอดทั้งปี ในพื้นที่เกาะสมุย-เกาะพะงัน และทะเลอันดามัน

มีพิษทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อนและเป็นผื่นแดง


**จากข้อมูลสถิติการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง ของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2564 พบผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 10 ราย บาดเจ็บรุนแรงจำนวน 36 ราย ในพื้นที่หลายจังหวัดที่อยู่ตามฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

อาการ

ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสถูกแมงกะพรุนแท้ที่มีพิษน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ เมื่อไปสัมผัสโดนหนวดจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีอาการเจ็บปวดภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที รู้สึกแสบร้อน คัน และเกิดผื่นแดงนูนเป็นรอยคล้ายโดนแส้ฟาด ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร หลังผ่านไปประมาณ 30 นาทีอาการปวดมักทุเลาลง ส่วนผื่นแดงจะเริ่มยุบลงภายใน 1 ชั่วโมง และใช้เวลานานหลายวันกว่ารอยผื่นจะหายไปจนหมด

ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการสัมผัสแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงขึ้น นอกจากผิวหนังที่โดนหนวดแมงกะพรุนมีอาการเจ็บปวดรุนแรง แสบร้อน ชา คัน รอยผื่นแดงนูนเป็นรอยเส้นคล้ายโดนแส้ฟาด (สำหรับผู้ที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chirodropidae ซึ่งมีหนวดพิษจำนวนมาก จะทำให้เกิดรอยเส้นคล้ายโดนแส้ฟาดจำนวนมากขดวนไปมา) ถ้ารับพิษมากผิวหนังบริเวณนั้นอาจเป็นรอยไหม้ สีเขียวคล้ำ เป็นตุ่มน้ำพอง หรือเนื้อเยื่อผิวหนังตายได้

นอกจากนี้ถ้ารับพิษรุนแรง อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

    ถ้าโดนพิษแมงกะพรุนหัวขวด (แมงกะพรุนไฟวงศ์ Physaliidae) ที่รุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้แน่นหน้าอก หรือหายใจลำบากร่วมด้วย
    ถ้าโดนพิษแมงกะพรุนกล่องวงศ์ Carukiidae ที่รุนแรง อาจทำให้เกิดกลุ่มอาการอิรูคันจิ (Irukandji syndrome) ซึ่งมักเกิดอาการหลังโดนพิษ 5 นาทีถึง 2 ชั่วโมง (ส่วนใหญ่ประมาณ 30 นาที) คือ มีอาการปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ไอ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง มักไม่ทำให้เสียชีวิตจากพิษโดยตรง แต่อาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นเหตุให้ผู้บาดเจ็บจมน้ำง่ายและเป็นอันตรายได้
    ถ้าโดนพิษแมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chirodropidae (ต่อทะเล) ที่รุนแรง อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้น หายใจลำบากหรือหยุดหายใจ หมดสติ เสียชีวิตได้ภายใน 2-10 นาที

ภาวะแทรกซ้อน

มักเกิดกับผู้ป่วยที่โดนแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมงกะพรุนกล่อง

    ภาวะที่ร้ายแรง คือ ทำให้หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ หมดสติ เสียชีวิตฉับพลันภายในไม่กี่นาที หรืออาจทำให้ว่ายน้ำไม่ไหวจนทำให้จมน้ำได้ บางรายอาจเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (มีอาการสับสน ง่วงซึม เท้าบวม ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก) ภาวะกล้ามเนื้อสลาย (rhabdomyolysis มีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนแรง ปัสสาวะสีดำหรือสีโคล่า)
    ในรายที่เป็นกลุ่มอาการอิรูคันจิ อาจเกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ทำให้มีอาการหายใจลำบาก และในรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก อาจทำให้หลอดเลือดสมองแตกหรือหัวใจวายได้
    อาจมีอาการแพ้พิษแมงกะพรุนแบบเฉียบพลัน (ซึ่งเกิดขึ้นหลังโดนพิษทันที) หรือแบบชะลอ (delayed hypersensitivity reaction) หลังโดนพิษ 1-2 สัปดาห์ไปแล้ว โดยมีอาการลมพิษ ผื่นแดง ตุ่มคัน หรือตุ่มน้ำพองเป็นส่วนใหญ่ บางรายอาจมีอาการหายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงดังวี้ดจากภาวะหลอดลมตีบ บางรายอาจมีอาการแพ้รุนแรงจากปฏิกิริยาอะนาไฟแล็กซิส (anaphylaxis) ถึงขั้นเกิดภาวะช็อกจากการแพ้ ซึ่งเป็นอันตรายได้
    ผิวหนังที่โดนพิษแมงกระพรุนอาจจะเป็นรอยไหม้ แผลเรื้อรัง แผลติดเชื้อ และอาจจะเป็นแผลเป็น หรือแผลปูด (คีลอยด์) ขนาดใหญ่ได้

ในรายที่รับพิษรุนแรง อาจทำให้ปลายมือหรือปลายเท้าเป็นเนื้อเน่าตาย (digital gangrene) เนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง

ถ้าสัมผัสถูกตา อาจทำให้มีอาการปวดตา ตาแดง หนังตาบวม แผลกระจกตา และอาจทำให้สายตาพิการได้


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติ (เกิดอาการขณะเล่นน้ำทะเล) ข้อมูลพื้นที่ (พบแมงกะพรุนชนิดใดในฝั่งทะเลที่เกิดเหตุ) อาการ และการตรวจร่างกายเป็นหลัก ซึ่งมีสิ่งตรวจพบที่สำคัญ

มักตรวจพบรอยผื่นแดงนูนเป็นรอยเส้นคล้ายโดนแส้ฟาด ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร สำหรับผู้ที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chirodropidae ซึ่งมีหนวดพิษจำนวนมาก จะทำให้เกิดรอยเส้นคล้ายโดนแส้ฟาดจำนวนมากขดวนไปมา

อาจพบผิวหนังมีรอยไหม้ สีเขียวคล้ำ เป็นตุ่มน้ำพอง (แบบแผลไฟไฟหม้น้ำร้อนลวก) หรือเนื้อเยื่อผิวหนังตายได้

ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน อาจตรวจพบสิ่งผิดปกติ เช่น อาการหมดสติ ชีพจรเต้นผิดจังหวะ เต้นเร็ว หรือหยุดเต้น ความดันโลหิตสูง หายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ภาวะช็อก (หน้าซีด ตัวเย็น ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาและเร็ว) แขนขาบวม ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ใช้เครื่องฟังตรวจปอดอาจมีเสียงวี้ด (wheezing) ในรายที่มีภาวะหลอดลมตีบ หรือเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ในรายที่มีภาวะปอดบวมน้ำ เป็นต้น

ในรายที่มีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรง แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

บางรายแพทย์อาจตรวจยืนยันชนิดของแมงกะพรุนที่เป็นต้นเหตุ โดยนำกระเปาะพิษที่หนวดไปตรวจพิสูจน์

การรักษาโดยแพทย์

1. ถ้าพบผู้ป่วยที่ยังไม่ได้ให้การปฐมพยาบาล ก็จะทำการปฐมพยาบาล และตัดเอาเสื้อผ้าที่อาจมีเข็มพิษที่ติดอยู่ทิ้งในถังขยะ เพื่อลดการรับพิษเพิ่ม

2. ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร ก็จะทำการฟื้นคืนชีพ (CPR) ทันที หรือถ้ามีภาวะช็อกจากการแพ้ (anaphylactic shock) แพทย์จะฉีดอะดรีนาลิน ยาแก้แพ้ และไฮโดรคอร์ติโซน แล้วรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล

3. ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย คือมีเพียงอาการเจ็บปวด แสบร้อน คัน ผื่นแดง หรือตุ่มน้ำพองเล็กน้อย ก็จะทำแผลแบบแผลสดหรือแผลน้ำร้อนลวก (โดยไม่ปิดทับแผลด้วยพลาสเตอร์โดยตรง หรือปิดหรือพันแผลจนแน่น) และให้การรักษาตามอาการ ดังนี้

    ให้ยาพาราเซตามอล หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น ไอบูโพรเฟน)
    ถ้าปวดมากให้ใช้ยาชา (เช่น ลิโดเคน) ชนิดเจลทา หรือชนิดสเปรย์พ่น หากไม่ได้ผลอาจต้องฉีดมอร์ฟีนระงับปวด
    ให้กินยาแก้แพ้-คลอร์เฟนิรามีน ถ้ามีรานิทิดีน (ranitidine) ก็ให้ยานี้ร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมฤทธิ์คลอร์เฟนิรามีน
    ฉีดยาป้องกันบาดทะยัก (Tetanus toxoid) ตามข้อบ่งขี้
    ถ้าสงสัยแผลมีการติดเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น โคอะม็อกซิคลาฟ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคตับ ให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อกลุ่ม Vibrio spp. เช่น ดอกซีไซคลีน หรือ กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (เช่น นอร์ฟล็อกซาซิน, ไซโพรฟล็อกซาซิน)
    สังเกตอาการประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าแผลขนาดเล็กน้อย มีอาการปวดไม่รุนแรง สัญญาณชีพเป็นปกติ ไม่มีอาการผิดปกติของระบบต่าง ๆ ก็จะให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง ให้ผู้ป่วยกลับบ้านและนัดมาติดตามดูอาการ

4. ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ล้างตาด้วยด้วยน้ำเกลือนอร์มัล นาน 15-30 นาที และควรปรึกษาจักษุแพทย์ ถ้ามีอาการปวดตา ตามัว ตาแดง ตาไม่สู้แสง หรือสงสัยเกิดแผลกระจกตา

5. ถ้ามีอาการปวดรุนแรง แผลมีลักษณะรุนแรงหรือครอบคลุมพื้นที่ผิวมาก หรือมีอาการผิดปกติของระบบต่าง ๆ (เช่น หายใจลำบาก หายใจเร็ว ชีพจรเต้นผิดจังหวะหรือเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เจ็บหรือแน่นหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว เท้าบวม ปัสสาวะออกน้อย หรือเป็นสีดำหรือสีโคล่า เป็นต้น) แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล

6. ในกรณีรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล แพทย์จะให้การรักษาดังนี้

(1) ในรายที่มีอาการไม่รู้สึกตัว หรือหายใจลำบาก แพทย์จะใส่ท่อช่วยหายใจ ใช้เครื่องช่วยหาย ให้ออกซิเจน ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

(2) ประเมินความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน ด้วยการตรวจร่างกายและทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม (เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) และให้การแก้ไข อาทิ

    ถ้ามีอาการปวดรุนแรงให้ยามอร์ฟีน และยากล่อมประสาทกลุ่มเบนโซไดอะซีพีนส์ (เช่น ไดอะซีแพม)
    ให้ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต เช่น ฉีดยา nitroglycerine, nicardipine หรือ magnesium sulfate ทางหลอดเลือดดำ
    รักษาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะช็อก ปอดบวมน้ำ ไตวายเฉียบพลัน ภาวะกล้ามเนื้อสลาย ภาวะเนื้อเน่าตายของปลายมือหรือปลายเท้า เป็นต้น

ผลการรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่โดนแมงกะพรุนไฟแท้ ซึ่งมีพิษน้อยและมีอาการเพียงเล็กน้อย การปฐมพยาบาลและการรักษาตามอาการ อาการมักจะทุเลาภายในไม่กี่ชั่วโมง ส่วนรอยผื่นอาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ ๆ กว่าจะหายเป็นปกติ

สำหรับผู้ที่โดนพิษร้ายแรงและมีอาการรุนแรง หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีก็มักจะหายและปลอดภัยได้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นบางรายที่มีแผลติดเชื้อหรือเรื้อรัง ก็อาจเกิดแผลปูดขนาดใหญ่ (คีลอยด์) ตามมาได้ มีเพียงส่วนน้อย (ที่โดนพิษแมงกะพรุนกล่อง) จะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาที


การดูแลตนเอง

1. เมื่อโดนแมงกะพรุน ให้รีบขึ้นจากน้ำ และทำการปฐมพยาบาลทันที

2. ถ้ามีอาการหมดสติ หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ให้รีบทำการฟื้นคืนชีพ (CPR) และส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที

3. ถ้ามีอาการปวดรุนแรง, มีตุ่มน้ำพอง (แบบน้ำร้อนลวก) หรือติดเชื้ออักเสบ, โดนพิษมากกว่าครึ่งแขน ครึ่งขา หรือเป็นบริเวณกว้างตามใบหน้าหรือลำตัว, โดนพิษที่บริเวณตาหรืออวัยวะเพศ, มีอาการผิดปกติ (เช่น ปวดศีรษะมาก เหงื่อออกมาก หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นผิดปกติหรือเต้นเร็ว สับสน กระสับกระส่าย วิงเวียน หน้ามืดจะเป็นลม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว แขนขาบวม ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ปัสสาวะสีดำหรือสีโคล่า เป็นต้น), หรือสงสัยโดนพิษแมงกะพรุนกล่อง ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว

4. สำหรับผู้ที่มีเพียงอาการเจ็บปวดและมีผื่นแดงไม่มาก และไม่มีอาการรุนแรง (ดังข้อ 2 และ 3) หากไม่แน่ใจว่าโดนแมงกะพรุนชนิดใด ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการ และให้การรักษาเบื้องต้น หากสังเกตอาการแล้วพบว่าไม่มีความรุนแรง แพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน

5. เมื่อแพทย์ให้การรักษา แล้วให้กลับมาอยู่บ้าน ก็ควรดูแลตนเองดังนี้

    รักษา กินยา ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ และไปติดตามดูอาการกับแพทย์ตามนัด
    ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด หากพบว่ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นภาวะที่รุนแรง (ดังข้อ 3), มีอาการแพ้พิษ (เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มน้ำพอง หายใจลำบากหรือมีเสียงดังวี้ด ๆ หน้ามืด เป็นลม) ซึ่งอาจเกิดหลังโดนพิษ 1-2 สัปดาห์ไปแล้ว, หรือมีอาการที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวล


การป้องกัน

    หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในช่วงฤดูฝน หรือหลังจากมีพายุฝน เพราะจะมีแมงกะพรุนชุกชุม

    ควรสังเกตป้ายคำเตือน หรือสอบถามจากยามชายฝั่งหรือคนในพื้นที่ให้แน่ชัดว่าบริเวณใดมี

    แมงกะพรุนชุกชุม ที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ลงเล่นน้ำ หรือควรเล่นน้ำในที่ที่มีตาข่ายกันแมงกะพรุน

    ขณะลงเล่นน้ำหรือดำน้ำในทะเล ควรป้องกันการสัมผัสถูกพิษแมงกะพรุนด้วยการใส่เสื้อผ้า และรองเท้า (เช่น ชุดดำน้ำ เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่เป็นผ้าที่มีเนื้อแน่นแนบลำตัว) ให้ปกปิดได้ทั่วร่างกาย

    เวลาลงเล่นน้ำในทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะฝนตก ลมแรง อาจพัดพาแมงกะพรุนเข้าชายฝั่ง ควรระมัดระวังอันตรายจากแมงกะพรุน ถ้าเห็นแมงกะพรุนอยู่ใกล้ ควรเลิกเล่นน้ำ

    เวลาเดินบนชายหาด ควรใส่รองเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้โดนพิษหากไปเหยียบถูกแมงกะพรุน และอย่าใช้มือเปล่าจับแมงกะพรุนที่ถูกน้ำพัดขึ้นมาบนชายหาด อาจแพ้พิษได้เช่นกัน


ข้อแนะนำ

1. ปัจจุบันพบว่าในทะเลไทยมีแมงกะพรุนชนิดร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบฉุกเฉิน แม้ว่าจะมีโอกาสพบได้น้อย แต่ก็ควรระมัดระวังไม่ให้ได้รับอันตรายจนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

2. การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องทันทีมีส่วนช่วยลดอันตรายจากพิษแมงกะพรุนชนิดร้ายแรงได้ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง และเตรียมยาและอุปกรณ์ (เช่น น้ำส้มสายชู น้ำเกลือนอร์มัล น้ำอุ่นจัด ๆ ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ แหนบที่ใช้คีบหนวดแมงกะพรุน) ไว้ที่ชายหาดให้พร้อมที่จะให้การปฐมพยาบาลทันทีเมื่อถูกแมงกะพรุนไฟ

การปฐมพยาบาลแมงกะพรุนต่อย

    รีบขึ้นจากน้ำมาบนฝั่ง พยายามนั่งนิ่ง ๆ และเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด และระวังอย่าให้ผู้อื่นสัมผัสหรือขัดถู บริเวณที่สัมผัสหนวดพิษ เพราะการเคลื่อนไหวและการสัมผัสจะกระตุ้นให้กระเปาะพิษปล่อยพิษมากขึ้น
    รีบใช้น้ำส้มสายชูที่ใช้ในครัวเรือน (ความเข้มข้น 4-6%) เทราดบริเวณผิวหนังที่ถูกพิษทันทีอย่างต่อเนื่องนานอย่างน้อย 30 วินาที ซึ่งจะช่วยหยุดยั้งไม่ให้กระเปาะพิษปล่อยพิษออกมา* (ยกเว้นกรณีโดนพิษที่ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำเกลือนอร์มัล/normal saline นาน 15-30 นาที)

หลังราดเสร็จ อย่าใช้ผ้า กระดาษ หรือวัสดุอื่นใดเช็ดหรือซับให้แห้ง เพราะอาจทำให้พิษถูกปล่อยออกมามากขึ้น ห้ามใช้น้ำจืด (เช่น น้ำก๊อก น้ำดื่ม น้ำเปล่า น้ำเย็น น้ำฝน) และแอลกอฮอล์ราด เพราะอาจกระตุ้นให้กระเปาะพิษปล่อยพิษออกมามากขึ้น

    รีบเอาหนวดพิษที่ติดอยู่บนผิวหนังออก โดยใช้แหนบคีบออก หรือใช้ขอบบัตรเครดิตเขี่ยออก ระวังอย่าถูหรือบี้หนวดพิษกับผิวหนัง (เพราะอาจทำให้พิษกระจายตัว) และอย่าใช้มือเปล่าจับหยิบหนวดพิษ เพราะทำให้ถูกพิษได้
    จุ่มหรืออาบส่วนที่ถูกพิษในน้ำอุ่นจัด ๆ (ขนาดร้อนพอทน หรือประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส) อย่างน้อย 40 นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาปวดและลดพิษแมงกะพรุนได้*
    ถ้าปวดมาก กินพาราเซตามอล (หรือไอบูโพรเฟน ตามที่แพทย์แนะนำ)
    ถ้ามีอาการคัน กินยาแก้แพ้-คลอร์เฟนิรามีน
    ควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว ถ้ามีอาการปวดรุนแรง, มีตุ่มน้ำพอง (แบบน้ำร้อนลวก), โดนพิษมากกว่าครึ่งแขน ครึ่งขา หรือเป็นบริเวณกว้างตามใบหน้าหรือลำตัว, โดนพิษที่บริเวณตาหรืออวัยวะเพศ, มีอาการผิดปกติ (เช่น ปวดศีรษะมาก เหงื่อออกมาก หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นผิดปกติหรือเต้นเร็ว สับสน กระสับกระส่าย วิงเวียน หน้ามืดจะเป็นลม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว แขนขาบวม ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ปัสสาวะสีดำหรือสีโคล่า เป็นต้น), หรือสงสัยโดนพิษแมงกะพรุนกล่อง
    ถ้าผู้บาดเจ็บมีอาการหมดสติ หยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น (จับชีพจรไม่ได้) ให้รีบทำการฟื้นคืนชีพ (CPR) ซึ่งควรทำก่อนใช้น้ำส้มสายชูราด และนำส่งโรงพยาบาลทันที

11
มอเตอร์โชว์ 2025 NEW MG S5 EV กับ 5 ฟีเจอร์เด่น ที่ทำให้ "ขับสนุก วิ่งไกล ชาร์จไว นั่งสบาย พร้อม Lifetime Warranty"

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย เตรียมสร้างความตื่นเต้นครั้งใหม่ให้กับวงการยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยการสร้างภาพจำให้ NEW MG S5 EV รถ B-SUV ไฟฟ้าที่เตรียมเปิดตัวในประเทศไทยเร็ว ๆ นี้ กับการเป็นโมเดลที่มอบ 5 จุดเด่นสำคัญที่จะยกระดับมาตรฐานของการขับขี่ ด้วยการเป็นรถที่ ขับสนุก วิ่งไกล ชาร์จไว นั่งสบาย มีการรับประกันแบตเตอรี่และมอเตอร์แบบ Lifetime Warranty ที่พร้อมสร้างปรากฏการณ์ใหม่ของ รถ SUV ที่เหนือกว่าในทุกการเดินทาง

NEBULA PURE ELECTRIC PLATFORM – โครงสร้างสุดแกร่ง พื้นที่ห้องโดยสารกว้างขวางผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะ
NEW MG S5 EV ถูกพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์ม NEBULA PURE ELECTRIC PLATFORM อันล้ำสมัย ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ เอ็มจี พัฒนาเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าหลากหลายเซกเมนต์ ตั้งแต่รถขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยแพลตฟอร์มนี้ถูกใช้งานครั้งแรกกับ NEW MG4 ซึ่งได้รับการยืนยันจากทั่วโลกว่าเป็นรถที่ขับดีที่สุดในคลาสและส่งต่อ DNA การขับขี่ที่สนุกสนานสู่ NEW MG S5 EV รุ่นใหม่ ที่ผสานสมรรถนะและความสะดวกสบายเข้าไว้ด้วยกันแพลตฟอร์ม NEBULA PURE ELECTRIC PLATFORM มาพร้อมโครงสร้างที่แข็งแกร่งและออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 100% พัฒนาแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในรถคันนี้ให้เป็นแบบ Cell-To-Pack ทำให้ระยะเวลาในการใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น และเพิ่มพื้นที่ห้องโดยสารกว้างขึ้น ห้องโดยสารถูกออกแบบให้มีโครงสร้างแข็งแรงพิเศษ สามารถดูดซับแรงกระแทกได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะมีผลต่อสมรรถนะที่เหนือชั้นแล้ว แพลตฟอร์มนี้ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยสูงสุด พร้อมระบบปกป้องแบตเตอรี่ไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อมอบความปลอดภัยในทุกสถานการณ์ ที่ NEW MG S5 EV พร้อมเดินทางไปทุกเส้นทางอย่างมั่นใจ

รถ B-SUV ไฟฟ้าที่มีระบบขับเคลื่อนล้อหลัง – สมดุลเหนือระดับกับความสนุกของคนขับที่มาพร้อมกับความสบายของคนนั่ง
NEW MG S5 EV ยกระดับประสบการณ์การขับขี่ด้วยระบบขับเคลื่อนล้อหลัง (DYNAMIC REAR WHEEL DRIVE) ที่ถ่ายทอดพลังสู่พื้นถนนอย่างสมบูรณ์แบบ ผสานกับมอเตอร์ไฟฟ้าตัวใหม่ประสิทธิภาพสูง Permanent Magnet Synchronous Motor ซึ่งได้รับการพัฒนาให้มอบพละกำลังและการตอบสนองที่ฉับไวในทุกย่านความเร็ว สมรรถนะที่เหนือชั้นเหล่านี้ช่วยให้ทุกการขับขี่เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็น การออกตัวที่เฉียบคม การเร่งแซงที่มั่นใจ ด้วยความเร็ว 0-100 กม./ชม. ใน 6.1 วินาที การควบคุมรถที่แม่นยำ หรือการเข้าโค้งในหลากหลายสภาพถนน พร้อมพาผู้ขับขี่ทะยานสู่ทุกจุดหมายได้อย่างมั่นใจ

NEW MG S5 EV ได้รับการออกแบบให้มีการกระจายน้ำหนักแบบสมมาตร 50:50 ระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง ผสานกับการวางตำแหน่งแบตเตอรี่ที่ช่วยลดจุดศูนย์ถ่วงของตัวรถให้ต่ำลง (Low Centre of Gravity) ส่งผลให้การยึดเกาะถนนเป็นไปอย่างยอดเยี่ยม เพิ่มเสถียรภาพขณะเข้าโค้งและการเร่งแซง ลดอาการโคลงตัวเมื่อต้องเผชิญกับสภาพถนนที่ท้าทาย เสริมความสมบูรณ์แบบของระบบขับเคลื่อนด้วยระบบช่วงล่างอิสระแบบแมคเฟอร์สันสตรัทด้านหน้า และ 5-Link Suspension ด้านหลัง ที่ได้รับการปรับจูนมาเป็นพิเศษ เพื่อเพิ่มการเกาะถนน รองรับ การเข้าโค้งได้อย่างเฉียบคมและมั่นคง แม้ในความเร็วสูง ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนระหว่างการขับขี่ ให้สมดุลระหว่างความนุ่มนวลและสมรรถนะสูงสุด นอกจากนี้ NEW MG S5 EV ยังมาพร้อมระบบเบรกที่ร่วมพัฒนากับบริษัท   Continental ด้วยดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อมช่องระบายความร้อน มอบพลังเบรกที่ทรงพลัง ทนทานต่อการใช้งานหนัก ได้ดื่มด่ำกับทุกช่วงเวลาของการขับขี่อย่างแท้จริง

ที่สุดกับความสบายใจสำหรับการรับประกันแบตเตอรี่และมอเตอร์ตลอดอายุการใช้งาน – มั่นใจทุกกิโลเมตรที่ขับขี่
ความเร้าใจต้องมาพร้อมกับความอุ่นใจสูงสุดในทุกการใช้งาน NEW MG S5 EV ยกระดับความมั่นใจตลอดอายุ การใช้งานด้วย Lifetime Warranty สำหรับรับประกันแบตเตอรี่แรงเคลื่อนสูง (High-Voltage Battery) ชุดมอเตอร์ขับเคลื่อน (Electric Drive Unit) และชุดควบคุมมอเตอร์ขับเคลื่อน (Power Electric Box) ตลอดอายุการใช้งาน แบบไม่จำกัดปี ไม่จำกัดระยะทาง เอ็มจี ถือเป็นแบรนด์เดียวที่กล้ามอบการรับประกันที่เหนือกว่ามาตรฐานทั่วไปในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของ เอ็มจี ในคุณภาพและความทนทานของเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อน ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถออกเดินทางได้อย่างไร้กังวล และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในระยะยาว พร้อมกันนี้ เอ็มจี ยังเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าด้วยศูนย์บริการคุณภาพกว่า 140 แห่งทั่วประเทศอีกด้วย

พวงมาลัย Dual Pinion Steering Wheel – ควบคุมแม่นยำ ขับขี่มั่นใจทุกเส้นทาง
NEW MG S5 EV ยกระดับประสบการณ์การขับขี่ด้วยนวัตกรรมพวงมาลัย Dual Pinion Steering Wheel ที่ออกแบบมาอย่างพิถีพิถันเพื่อมอบการขับขี่ที่แม่นยำและมั่นใจในทุกสถานการณ์ ระบบพวงมาลัยนี้ใช้โครงสร้างแบบ Dual Pinion ที่ช่วยเพิ่มความฉับไวในการตอบสนองและให้การควบคุมที่แม่นยำยิ่งขึ้น ลดความพยายามในการบังคับรถ ทำให้ทุกการเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้น หรือการขับขี่ที่ต้องการ ความคล่องตัว ระบบพวงมาลัยนี้ช่วยให้เข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ พร้อมเสริมการยึดเกาะถนนที่ดีเยี่ยมทั้งในทางตรงและทางโค้งเพิ่มความสนุกและความมั่นใจในทุกเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่ในเมืองที่คับคั่งหรือการเดินทางไกลบนทางหลวง

วิ่งไกล 550 กิโลเมตรต่อการชาร์จ พร้อมระบบชาร์จเร็วทันใจ ให้การใช้อีวีง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
NEW MG S5 EV เปิดมิติใหม่แห่งการเดินทางด้วย แบตเตอรี่ขนาด 64 kWh ที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มอบระยะทางการขับขี่สุดประทับใจ สูงสุดถึง 550 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ตามมาตรฐาน NEDC ที่วิ่งได้ไกลที่สุดในคลาส ตอบโจทย์ทุกการเดินทางโดยไม่ต้องกังวลเรื่องระยะทาง นอกจากระยะทางที่เหนือชั้นแล้ว NEW MG S5 EV ยังมาพร้อมกับ ระบบชาร์จเร็ว Quick Charge 140 kW ช่วยให้ผู้ใช้งานเติมพลังกลับสู่เส้นทางได้ในเวลาอันรวดเร็ว ลดระยะเวลาการรอคอยให้เหลือน้อยที่สุด เหมาะสำหรับไลฟ์สไตล์ที่ไม่หยุดนิ่ง ไม่ว่าจะใช้รถในการเดินทางประจำวันในเมือง หรือขับข้ามจังหวัดเพื่อการเดินทางไกล NEW MG S5 EV จึงไม่ใช่แค่รถยนต์ไฟฟ้า แต่คือ กุญแจสู่อิสรภาพในการเดินทาง ที่ช่วยให้ไปได้ไกลกว่าที่เคย โดยไร้ข้อจำกัดด้านระยะทางและเวลา

เตรียมพบกับยนตรกรรมไฟฟ้าใหม่ในกลุ่ม B-SUV กับ NEW MG S5 EV ที่พร้อมมาฉีกทุกกฎของรถเอสยูวีไฟฟ้า ด้วยดีไซน์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย พร้อมทั้งสมรรถนะที่ทรงพลังและการขับขี่ที่เหนือกว่า เตรียมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ของการขับขี่ยนตรกรรมไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ ภายในงาน Motor Show 2025 นี้แน่นอน!!!

12
จัดฟันบางนา: ปัญหา “ฟันห่าง” ป้องกันได้หรือไม่ ?

เชื่อว่าหลายๆท่านคงอาจจะกำลังมีปัญหากับช่องว่างระหว่างฟันที่มีความห่างกันมากจนเกินไป หรือคนรอบข้างอาจจะมีปัญหานี้ก็ตามแต่ ล้วนแต่สร้างความไม่มั่นใจให้กับบุคคลผู้นั้น สิ่งแรกเลยคือ ไม่มั่นใจในขณะพูดคุย ไม่กล้ายิ้ม และหากปล่อยไว้อาจจะส่งผลกับการกัดอาหารตามมาด้วย

แต่ถึงอย่างไรก็ตามถือว่าไม่น่าเป็นห่วงแล้วสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาฟันห่าง เนื่องจากว่าในยุคสมัยนี้นวัตกรรมทางทันตกรรมมีวิธีรักษาเพื่อช่วยปิดช่องฟันและลดช่องว่างระหว่างฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ แถมใช้เวลาไม่มากเหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว

ในวันนี้จะขอพาท่านผู้อ่านมารู้ถึงรายละเอียดของการมีช่องว่างระหว่างฟัน วิธีรักษา และที่สำคัญเลยที่หลายท่านสงสัยว่า ฟันห่างมีทางป้องกันหรือไม่ เรามาไขข้อสงสัยกันดังต่อไปนี้


ปัญหาที่เกิดจากฟันห่าง ?

ปัญหาหลักๆเลยที่เกิดจากฟันห่าง หรือมีช่องว่างระหว่างฟันก็คือ เสียบุคลิกภาพ ไม่กล้าที่จะสนทนาพูดคุย หากว่าเป็นตั้งแต่ที่อายุยังน้อยก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาฟันซี่ถัดไปไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยวอีกด้วย


ฟันห่างเกิดจากอะไร ?

ต้องขอบอกเลยว่าฟันห่างนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายๆสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพฤติกรรมผิดๆ รวมถึงความผิดปกติของช่องปากและฟัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

– ความผิดปกติของเนื้อเยื่อใต้ลิ้นที่ยึดเกาะกับพื้นด้านล่างของช่องปาก ซึ่งเนื้อเยื่อยึดเกาะเหล่านี้มีบทบาทในการพัฒนาโครงสร้างช่องปากของเด็กตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา ซึ่งหากมีความผิดปกติมากๆก็ส่งผลให้เกิดการดึงรั้งและทำให้เกิดฟันหน้าห่างได้นั่นเอง

– ขนาดฟันเล็กกว่าขากรรไกร หรือมีขากรรไกรที่ใหญ่เกินไปก็จะทำให้การเรียงตัวของฟันห่างจากกันเพื่อเติมเต็มพื้นที่ขากรรไกร ซึ่งโครงสร้างของขากรรไกรและขนาดฟันส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยพันธุกรรม ซึ่งหากว่าพ่อแม่มีฟันห่างลูกก็อาจจะประสบปัญหาฟันห่างด้วยเช่นกัน

– เนื้อเยื่อขอบเหงือกเจริญเติบโตมากเกินไป ซึ่งหากว่ามีเหงือกในส่วนของฟันหน้ามากเกินไป ก็จะทำให้เกิดการขวางแนวฟันทำให้เกิดการแยกออกจากกันของฟัน

– ภาวะลิ้นดันฟัน มักจะเกิดขึ้นในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่มีการกลืนกินผิดปกติ ลิ้นโดยธรรมชาติจะแตะที่เพดานปากด้านบนในขณะกลืนอาหาร แต่สำหรับผู้ที่ผิดปกติลิ้นจะไปดันที่ฟันหน้าทำให้เกิดแรงดันอย่างมากส่งผลให้เกิดฟันห่าง

– โรคเหงือก หากว่าเกิดการอักเสบของเหงือกและไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเหงือกและฟัน ทำให้เกิดฟันโยกและเกิดช่องว่างได้

– การถอนฟันจะส่งผลให้ฟันไม่ครบ ฟันที่เหลือเกินการเคลื่อนตัวส่งผลให้เกิดปัญหาฟันห่างตามมานั่นเอง

– การดูดนิ้ว ก็สามารถทำให้เกิดแรงดันจำนวนมากส่งผลให้ฟันหน้าห่างตามมาได้นั่นเอง


ฟันห่างป้องกันได้หรือไม่ ?

ต้องขอบอกว่าปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้เกิดฟันห่างนี้เกินควบคุมได้ เช่น ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม และความผิดปกติในช่องปากตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น แต่จะบอกว่าไม่สามารถป้องกันได้เลยก็อาจจะไม่ใช่ เพราะเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดฟันห่างได้ เช่น พยายามไม่ดูดนิ้ว หรือผู้ปกครองควรมีส่วนในการช่วยดูแลไม่ให้บุตรหลานทำพฤติกรรมดูดนิ้ว หรือสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมการกลืนที่ผิดปกติให้พยายามปรับเปลี่ยนบังคับลิ้นให้แตะที่เพดานปากด้านบนในเวลารับประทานอาหารซึ่งยากแต่สามารถทำได้ อีกอย่างที่สำคัญก็คือพยายามดูแลสุขภาพช่องปากให้แข็งแรงเพื่อไม่ให้เป็นโรคเหงือกหรือโรคเกี่ยวกับฟันต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดฟันห่าง และการขูดหินปูนเป็นประจำก็ถือว่าเป็นหนึ่งในการป้องกันฟันห่างจากแรงดันของคราบหินปูนนั่นเอง

สรุปแล้วก็คือ “ฟันห่าง” ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดปกติตั้งแต่พันธุกรรมนั้นสามารถที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้

อีกอย่างที่อยากจะบอกก็คือ ฟันห่าง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกท่านแม้ว่าตอนเด็กๆจะฟันเรียงตัวสวยเป็นปกติ พฤติกรรมต่างๆในตอนโตก็สามารถเปลี่ยนทำให้ฟันที่เรียงตัวสวยงามกลายเป็นฟันห่างได้ด้วยเช่นกัน

13
หากพบว่าผ้ากันไฟมีลักษณะที่ไม่เหมาะสม ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีหรือไม่

ใช่ครับ หากพบว่าผ้ากันไฟมีลักษณะที่ไม่เหมาะสม ควรเปลี่ยนใหม่ทันที เนื่องจากผ้ากันไฟที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพจะไม่สามารถป้องกันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจเป็นอันตรายได้


ลักษณะที่ไม่เหมาะสมของผ้ากันไฟที่ควรเปลี่ยนใหม่ทันที:

รอยฉีกขาดหรือรอยเปื่อย: ผ้ากันไฟที่มีรอยฉีกขาดหรือรอยเปื่อยจะไม่สามารถป้องกันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจทำให้ไฟลุกลามได้

รอยไหม้หรือรอยความเสียหาย: รอยไหม้หรือรอยความเสียหายอื่นๆ อาจบ่งบอกว่าผ้ากันไฟได้รับความเสียหายจากความร้อน และไม่ควรนำมาใช้งาน

การเคลือบผิวหลุดลอก: หากผ้ากันไฟมีการเคลือบผิว การหลุดลอกของการเคลือบผิวจะทำให้ผ้ากันไฟไม่สามารถป้องกันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อผ้าเปื่อยยุ่ยหรือแข็งกระด้าง: เนื้อผ้าที่เปื่อยยุ่ยหรือแข็งกระด้างแสดงว่าผ้ากันไฟเสื่อมสภาพ และไม่ควรนำมาใช้งาน

มีคราบน้ำมันหรือสารเคมี: คราบน้ำมันหรือสารเคมีบนผ้ากันไฟอาจทำให้ผ้าติดไฟได้ง่ายขึ้น

ไม่มีมาตรฐานรับรอง: ผ้ากันไฟที่ไม่มีมาตรฐานรับรองอาจไม่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการป้องกันไฟ


เหตุผลที่ควรเปลี่ยนผ้ากันไฟทันทีเมื่อพบลักษณะที่ไม่เหมาะสม:

ความปลอดภัย: ผ้ากันไฟที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพจะไม่สามารถป้องกันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ประสิทธิภาพ: ผ้ากันไฟที่อยู่ในสภาพดีจะสามารถป้องกันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความคุ้มค่า: การเปลี่ยนผ้ากันไฟใหม่จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากไฟไหม้ ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเปลี่ยนผ้ากันไฟ


ดังนั้น การตรวจสอบผ้ากันไฟอย่างสม่ำเสมอ และเปลี่ยนผ้ากันไฟเมื่อพบว่ามีลักษณะที่ไม่เหมาะสม จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าผ้ากันไฟจะสามารถป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

14
หมอประจำบ้าน: มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดของมะเร็งในผู้หญิงไทย พบมากในช่วงอายุ 35-60 ปี แต่ก็อาจพบในคนอายุน้อย (เช่น 20 ปี) ก็ได้

มะเร็งชนิดนี้สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มและรักษาให้หายขาดได้

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

พบว่าประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคนี้ มีความสัมพันธ์กับการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูกจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (human papilloma virus/HPV) ชนิด 16 และ 18 (ซึ่งยังเป็นปัจจัยของการเกิดมะเร็งช่องปากและองคชาตอีกด้วย แต่เป็นคนละสายพันธุ์กับเอชพีวี ชนิดที่ 6 และ 11 ที่ทำให้เกิดหูดและหงอนไก่) เชื้อนี้ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งพบมากในช่วงอายุ 20-40 ปี สามารถตรวจเช็กพร้อมกับการตรวจแพ็ปสเมียร์ พบว่าการติดเชื้อเอชพีวีมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุต่ำกว่า 17 ปี, มีคู่นอนหรือสามีหลายคน หรือมีสามีที่มีความสำส่อนทางเพศ, มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ (เช่น เอชไอวี เชื้อคลามีเดีย เริม ซิฟิลิส หนองใน เป็นต้น), ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น ผู้ป่วยที่กินยากดภูมิคุ้มกัน)

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เสริมให้เป็นมะเร็งปากมดลูก เช่น การสูบบุหรี่ การกินยาเม็ดคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปีขึ้นไป การมีบุตรหลายคน การกินผักและผลไม้น้อย น้ำหนักเกิน การมีประวัติโรคนี้ในครอบครัว เป็นต้น


อาการ

ระยะแรกเริ่ม จะไม่มีอาการแสดง (สามารถตรวจพบโดยการตรวจแพ็ปสเมียร์) เมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้น จะพบว่ามีอาการเลือดออกจากช่องคลอด (บางรายเข้าใจว่ามีประจำเดือนออกมากหรือกะปริดกะปรอย) หรือมีเลือดออกภายหลังการร่วมเพศ บางรายอาจมีอาการตกขาวมีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือตกขาวปริมาณมาก

ผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาจสังเกตว่าหลังจากหมดประจำเดือนไปนาน 6 เดือนหรือเป็นปี กลับมีประจำเดือนมาใหม่ แต่ออกมากและนานกว่าปกติ

ระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามไปมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อย ปวดหลัง ก้นกบ หรือต้นขา ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ขาบวม เกิดภาวะไตวาย เนื่องจากทางเดินปัสสาวะอุดกั้นจากก้อนมะเร็ง


ภาวะแทรกซ้อน

อาจทำให้เกิดภาวะซีด (จากอาการเลือดออกทางช่องคลอดเรื้อรัง), เจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์

มะเร็งมักลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ (ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด), ทวารหนัก (ถ่ายอุจจาระลำบาก ถ่ายเป็นเลือด), มีปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ดรั่วออกทางช่องคลอด, ลำไส้ (ลำไส้อุดกั้น ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด), ในระยะท้ายมักแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปที่ปอด (เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก), ตับ (เจ็บชายโครงขวา ตาเหลืองตัวเหลือง ท้องมาน), กระดูก (ปวดกระดูก กระดูกพรุน กระดูกหัก ปวดหลัง ไขสันหลังถูกกดทับ)


การวินิจฉัย

แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ หรือการตรวจกรองโรคก่อนมีอาการ โดยการขูดเซลล์เยื่อบุปากมดลูกนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ดังที่เรียกว่าแพ็ปสเมียร์ (Pap smear)

หากสงสัยก็จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการใช้กล้องส่องตรวจปากมดลูก (colposcopy) และตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ

หากพบว่าเป็นมะเร็งก็จะทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ (เช่น เอกซเรย์, อัลตราซาวนด์,เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, การตรวจเพทสแกน- PET scan เป็นต้น) เพื่อประเมินว่าเป็นมะเร็งระยะใด


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด อาจให้รังสีบำบัด (ฉายรังสี ใส่แร่เรเดียม) และ/หรือเคมีบำบัดร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของมะเร็งและระยะของโรค

ผลการรักษา หากพบระยะแรก ๆ การรักษามักจะได้ผลดี หรือหายขาดได้เป็นส่วนใหญ่ มีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี ถึงร้อยละ 60-95 ถ้าพบระยะ 3 และ 4 การรักษาอาจช่วยให้มีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี ประมาณร้อยละ 20-50


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดไปจากเลือดประจำเดือน, มีเลือดออกภายหลังการร่วมเพศ, มีอาการตกขาวมีเลือดปนหรือมีกลิ่นเหม็น เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    หลีกเลี่ยงการซื้อยามากินเอง
    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช โปรตีนที่มีไขมันน้อย (เช่น ปลา ไข่ขาว เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง)
    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหาทางผ่อนคลายความเครียด
    ออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งงานอดิเรกที่ชอบ และงานจิตอาสา เท่าที่ร่างกายจะอำนวย
    ทำสมาธิ เจริญสติ หรือสวดมนต์ภาวนาตามหลักศาสนาที่นับถือ
    ถ้ามีโอกาสควรหาทางเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน หรือกลุ่มมิตรภาพบำบัด
    ผู้ป่วยและญาติควรหาทางเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วย ยอมรับความจริง และใช้ชีวิตในปัจจุบันให้ดีและมีคุณค่าที่สุด
    ถ้าหากมีเรื่องวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและวิธีบำบัดรักษา รวมทั้งการแสวงหาทางเลือกอื่น (เช่น การใช้สมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน การนวด ประคบ การฝังเข็ม การล้างพิษ หรือวิธีอื่น ๆ) ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ และทีมสุขภาพที่ดูแลประจำและรู้จักมักคุ้นกันดี

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการไม่สบายหรืออาการผิดปกติ เช่น มีไข้ อ่อนเพลียมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ชัก แขนขาชาหรืออ่อนแรง ซีด มีเลือดออก ปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน เบื่ออาหารมาก  กินไม่ได้ ดื่มน้ำไม่ได้ เป็นต้น
    ขาดยาหรือยาหาย
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

    หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เสรีหรือไม่ปลอดภัย ส่วนการใส่ถุงยางอนามัยอาจป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ ถ้ามีรอยโรคอยู่นอกบริเวณที่ถุงยางครอบคลุมได้
    ไม่สูบบุหรี่
    รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    กินผักและผลไม้ให้มาก ๆ
    ตรวจหามะเร็งปากมดลูกระยะแรก (แพ็ปสเมียร์) เป็นประจำ หากพบว่าเซลล์ปากมดลูกเริ่มมีความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็ง (precancerous) จะได้ให้การรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง และหากพบว่าเริ่มเป็นมะเร็งระยะแรก (ก่อนมีอาการ) ก็จะได้ให้การรักษาให้หายขาดได้
    ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี (HPV vaccine) ซึ่งจะเริ่มฉีดให้เด็กหญิงตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป (ควรฉีดก่อนที่จะแต่งงานหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศ จึงจะได้ประสิทธิผลดี) โดยฉีด 3 เข็ม เข็มที่ 2 และ 3 ห่างจากเข็มแรก 2 และ 6 เดือนตามลำดับ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อเอชพีวี (พบประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้) ข้อเสียคือ วัคซีนยังมีราคาแพง และไม่สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 100%

ข้อแนะนำ

1. มะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบระยะแรก (ก่อนปรากฏอาการ) และรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ผู้หญิงที่มีสุขภาพเป็นปกติดี ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจกรองหามะเร็งระยะแรก ดังนี้

    ควรเริ่มตรวจตั้งแต่หลังแต่งงานหรือเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ 3 ปี หรือเมื่ออายุได้ 30 ปีขึ้นไป โดยการตรวจด้วยวิธีแพ็ปสเมียร์ (Pap smear) ทุก 3 ปี (หรือวิธี VIA ทุก 5 ปี จนถึงอายุ 55 ปีขึ้นไปควรตรวจด้วยวิธีแพ็ปสเมียร์แทนทุก 3 ปี) แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี สูบบุหรี่ กินยาเม็ดคุมกำเนิด ควรตรวจทุกปี
    ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หากเคยมีผลการตรวจเป็นปกติติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง (และไม่เคยมีผลการตรวจที่ผิดปกติเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี) ก็สามารถหยุดการตรวจแพ็ปสเมียร์ได้ แต่ถ้าเคยเป็นมะเร็งปากมดลูกมาก่อน หรือมีปัจจัยเสี่ยงก็ควรจะได้รับการตรวจต่อไปตราบเท่าที่ยังแข็งแรง
    ผู้หญิงที่เคยผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมดโดยไม่มีสาเหตุจากมะเร็ง สามารถหยุดการตรวจแพ็ปสเมียร์ได้ แต่ถ้าผ่าตัดมดลูกเพียงบางส่วนและยังคงปากมดลูกไว้ ก็ควรรับการตรวจแพ็ปสเมียร์แบบผู้หญิงทั่วไปดังกล่าวข้างต้น

2. ผู้หญิงที่มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือตกขาวผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

3. ปัจจุบันมีวิธีบำบัดรักษาโรคมะเร็งใหม่ ๆ ที่อาจช่วยให้โรคหายขาดหรือทุเลา หรือช่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยจึงควรติดต่อรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็ง มีความมานะอดทนต่อผลข้างเคียงของการรักษาที่อาจมีได้ อย่าเปลี่ยนแพทย์ เปลี่ยนโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น หากสนใจจะแสวงหาทางเลือกอื่น (เช่น การใช้สมุนไพร หรือวิธีอื่น ๆ) ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ และทีมสุขภาพที่ดูแลประจำและรู้จักมักคุ้นกันดี

15
ข้อควรระวังการบริหารยาทางสายให้อาหารสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง เป็นการให้อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีระบบทางเดินอาหาร สามารถทำงานเป็นปกติ แต่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงต้องมีความจำเป็นที่จะให้ผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยาง โดยจะมีสองวิธีคือ ให้อาหารทางสายยางผ่านรูจมูก และการให้อาหารทางสายยาง โดยการเจาะบริเวณหน้าท้อง และสอดสายยางไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง


ประโยชน์ในการให้อาหารทางสายยาง ก็คือ การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร และยังสร้างสมดุลและการทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ ในบางกรณีผู้ป่วยจะต้องให้ยาทางสายยางให้อาหาร ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะปัญหาที่จะพบได้บ่อยจากการบริหารยาผ่านทางสายยางให้อาหารคือ การอุดตันของสายยางให้อาหาร การเกิดพิษของยา การดูดซึมของยา และเสี่ยงในเรื่องของการติดเชื้อด้วย บางครั้งอาจจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงด้วย

สำหรับสิ่งที่ต้องคำนึงในเรื่องของการบริหารยาผ่านทางสายยางให้อาหาร ต้องตรวจสอบก่อนว่ายาสามารถบริหารผ่านทางสายยางได้ดีหรือไม่ ชนิดของสายยาง ตำแหน่งของสายยาง ตำแหน่งที่ยาออกฤทธิ์ หรือการดูดซึมของยา และที่สำคัญคือสูตรของอาหาร และที่สำคัญความสะอาดของอาหารที่ต้องให้กับผู้ป่วย จะมีความสะอาด ปลอดภัย เพื่อให้ผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยจะไม่มีอาการท้องเสีย หรืออาเจียน หรือเกิดภาวะแพ้อาหาร


ซึ่งทางนักโภชนาการผู้ออกแบบสูตรอาหารจะต้องทราบข้อมูลประวัติการแพ้อาหารของผู้ป่วยด้วย เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นพิษแก่ผู้ป่วย หากผู้ป่วยเกิดอาหารแพ้อาหาร อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการช็อคได้ เนื่องจากแพ้อหารนั่นเอง

นอกจากนี้ ยาที่จะต้องให้ผู้ป่วย ก็ต้องตรวจสอบให้ดีว่าถูกต้องหรือไม่ และตัวยา สามารถให้ผู้ป่วยทางสายยางได้หรือไม่ เพราะยาบางชนิด ไม่เหมาะกับการบริหารยาทางสายยางให้อาหาร โดยเฉพาะยาที่ห้ามหัก ห้ามบด ห้ามเคี้ยว เพราะยาบางชนิดถูกออกแบบให้ผ่านกระเพาะอาหารไปปลดปล่อยและดูดซึมในลำไส้ เพื่อป้องกันการระคายเคืองวของกระเพาะอาหาร ป้องกันการถูกทำลายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร ยกตัวอย่างเช่น Enteric coating จะไม่สามารถถูกบดให้ละเอียดได้ แต่จะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งจะจับกลุ่มกันอีกครั้ง ถ้าสัมผัสความชื้นหรือน้ำ ทำให้เกิดการอุดตันของสายยางให้อาหาร ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาในปริมาณที่ต้องการ และอาจจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง

หน้า: [1] 2 3 ... 25