ผู้เขียน หัวข้อ: ดอกเบี้ยเงินฝาก เช็กลิสต์! ลดหย่อนภาษี 2567 รอบนี้มีอะไรบ้าง?  (อ่าน 23 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 219
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรม,สินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
ดอกเบี้ยเงินฝาก เช็กลิสต์! ลดหย่อนภาษี 2567 รอบนี้มีอะไรบ้าง?

ปลายปีแบบนี้ก็ถึงเวลาเตรียมเช็กเตรียมเอกสารสำหรับยื่นเสียภาษีรอบปี 2567 กันอีกแล้วนะคะ และตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เราประหยัดภาษีได้ไม่มากก็น้อยก็คือการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนั่นเอง ซึ่งแต่ละปีก็จะมีสิทธิลดหย่อนภาษีต่างกันออกไปนะคะ วันนี้พาไปเช็กลิสต์อัปเดตกันค่ะว่าในรอบปีภาษี 2567 มีตัวช่วยลดหย่อนอะไรเพิ่ม หรือว่าลดไปบ้าง... เตรียมตัวตั้งแต่วันนี้จะได้ไม่พลาดใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของเรานะคะ

✅ ค่าลดหย่อนพื้นฐาน (ส่วนตัวและครอบครัว)
 
ค่าลดหย่อนส่วนตัว   60,000 บาท
ค่าลดหย่อนคู่สมรส (ต้องจดทะเบียนสมรส)   60,000 บาท
ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร   ไม่เกิน 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนบุตร
กรณีบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป (เกิดตั้งแต่ปี 2561)
คนละ 30,000 บาท
คนละ 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา-มารดา   คนละ 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ-ทุพพลภาพ   คนละ 60,000 บาท
 
1️⃣ ค่าลดหย่อนส่วนตัว
ลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท โดยผู้เสียภาษีจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ทันทีที่ทำการยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปี (ภ.ง.ด. 90, ภ.ง.ด. 91)
 
2️⃣ ค่าลดหย่อนคู่สมรส
ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท
ต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายกำหนด
คู่สมรส (สามีหรือภรรยา) ต้องเป็นผู้ไม่มีเงินได้ หรือไม่มีรายได้ในปีนั้นๆ
กรณีมีเงินได้ทั้งคู่ กฎหมายอนุญาตให้ยื่นภาษีรวมกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีคู่สมรสได้

3️⃣ ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร
ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และจะต้องเป็นค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรที่จ่ายตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป มีเงื่อนไขดังนี้
ต้องเป็นค่าฝากครรภ์ หรือคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน
กรณีที่ท้องปีนี้ คลอดปีหน้า สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามปีที่จ่ายจริง แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท
กรณีที่ต้องยื่นภาษีทั้งสามีและภรรยา กฎหมายกำหนดให้ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตรเป็นของภรรยา แต่หากภรรยาไม่มีรายได้ในปีภาษีนั้นๆ สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้
ใช้ใบเสร็จรับเงิน และใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อน

4️⃣ ค่าลดหย่อนบุตร มีเงื่อนไขดังนี้
ค่าลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย ลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท
บุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป ลดหย่อนบุตรได้คนละ 60,000 บาท

5️⃣ ค่าลดหย่อนบิดามารดา
ค่าลดหย่อนบิดามารดาตัวเอง ลดหย่อนพ่อแม่ได้คนละ 30,000 บาท มีเงื่อนไขดังนี้
ต้องเป็นพ่อแม่ที่ชอบด้วยกฎหมาย (พ่อแม่แท้จริง)
พ่อแม่ ต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
พ่อแม่ ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
สำหรับคนมีพี่น้อง กฎหมายกำหนดให้ค่าลดหย่อนบิดามารดาใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถยื่นซ้ำกันได้ อาจต้องคุยกันในกลุ่มพี่น้องว่าใครจะรับสิทธิในส่วนนี้
ต้องใช้หนังสือรับรองการหักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ลย.03) พร้อมให้พ่อแม่เซ็นชื่อกำกับเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีด้วย

6️⃣ ค่าลดหย่อนผู้พิการทุพพลภาพ
ลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเอกสารที่ต้องใช้เป็นหลักฐานคือ
บัตรประจำตัวผู้พิการ หรือใบรับรองแพทย์
เอกสารรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้ทุพพลภาพ (ลย.04)

✅ ค่าลดหย่อนประกันและการลงทุน
 
ค่าลดหย่อนประกันสังคม   9,000 บาท
ค่าลดหย่อนประกันชีวิต, ประกันแบบสะสมทรัพย์   ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อนประกันสุขภาพ   ไม่เกิน 25,000 บาท
ค่าลดหย่อนประกันสุขภาพของบิดา-มารดา   ไม่เกิน 15,000 บาท
ค่าลดหย่อนประกันชีวิตแบบบำนาญ   ไม่เกิน 200,000 บาท
ค่าลดหย่อนกองทุนรวมเพื่อการออม SSF   ไม่เกิน 200,000 บาท
ค่าลดหย่อนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF   ไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ PVD   ไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าลดหย่อนกองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ กบข.   ไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าลดหย่อนกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน   ไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าลดหย่อนกองทุนการออมแห่งชาติ กอช.   ไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนกองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน Thai ESG   ไม่เกิน 300,000 บาท
 
1️⃣ ค่าลดหย่อนประกันสังคม
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมในปี 2567 ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 9,000 บาท
 
2️⃣ ค่าลดหย่อนประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์
ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
 
3️⃣ ค่าลดหย่อนประกันสุขภาพ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
ประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน  25,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสุขภาพของบิดา-มารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท และพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เลย ไม่ต้องให้พ่อแม่มีอายุครบ 60 ปี

4️⃣ ค่าลดหย่อนประกันแบบบำนาญ
ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
 
5️⃣ ค่าลดหย่อนกองทุนรวมเพื่อการออม Super Saving Fund (SSF)
ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 มีเงื่อนไขดังนี้
ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อกองทุน
ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อกองทุน SSF และไม่ต้องซื้อกองทุนต่อเนื่องทุกปี
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ภายในปี 2563 - 2567

6️⃣ ค่าลดหย่อนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ Retirement Mutual Fund (RMF)
ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายภาษีตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 มีเงื่อนไขดังนี้
ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก และสามารถขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อกองทุน RMF แต่จะต้องทำการซื้อต่อเนื่องทุกปี
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ใหม่ได้ในปีที่เริ่มลงทุน ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

7️⃣ ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Funds (PVD) และ ค่าลดหย่อนกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

8️⃣ ค่าลดหย่อนกองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)
ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

9️⃣ ค่าลดหย่อนกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท และเมื่อรวมกับ RMF, กบข, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสังเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, เบี้ยประกันบำนาญ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
 
🔟 ค่าลดหย่อนกองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน Thai ESG
ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท/คน/ปี ไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2569 เท่านั้น
✅ ค่าลดหย่อนโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
 
ค่าลดหย่อน Easy e-Receipt 2567   ไม่เกิน 50,000 บาท
ค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง 2567   ไม่เกิน 15,000 บาท
ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมที่อยู่อาศัย   ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อนค่าสร้างบ้านใหม่ 2567-2568   ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อน Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)   ไม่เกิน 100,000 บาท
 
1️⃣ ค่าลดหย่อนโครงการ Easy e-Receipt 2567
ลดหย่อนได้ไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการที่มีใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567
 
2️⃣ ค่าลดหย่อนโครงการเที่ยวเมืองรอง 2567
ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในจังหวัดเมืองรอง 55 จังหวัด ระหว่างเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน 2567 ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
 
3️⃣ ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมที่อยู่อาศัย
คนผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการซื้อที่อยู่อาศัยมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท มีเงื่อนไขดังนี้
กรณีกู้ร่วม สิทธิลดหย่อนภาษีจะเฉลี่ยตามจำนวนคนร่วมกู้ เช่น กู้ 2 คน จะได้สิทธิคนละ 50,000 บาท
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับการซื้อที่อยู่อาศัยกี่หลังก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ใช้เอกสารรับรองการจ่ายดอกเบี้ยเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีด้วย

4️⃣ ค่าลดหย่อนค่าสร้างบ้านใหม่ (มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ 2567)
ผู้ที่สร้างบ้านใหม่ในปี 2567 สามารถนำค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบ้านมาลดหย่อนภาษีได้ มีเงื่อนไขดังนี้
ค่าจ้างก่อสร้างบ้านทุกๆ 1 ล้านบาท นำไปลดหย่อนภาษีได้ 10,000 บาท (ค่าก่อสร้างบ้านสูงสุดต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท)
ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
เฉพาะค่าจ้างก่อสร้างบ้านไม่เกิน 1 หลัง และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ในปีที่ก่อสร้างเสร็จ
ต้องเป็นค่าจ้างจ่ายจริง ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 – 31 ธันวาคม 2568 ตามสัญญาจ้างที่ได้เริ่มและดำเนินการในช่วงเวลาเดียวกัน
ผู้รับจ้างต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และสัญญาต้องชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ผ่านอินเตอร์เน็ตกับกรมสรรพากร

5️⃣ ค่าลดหย่อนลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
สำหรับผู้ที่ลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจ Social Enterprise ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สามารถนำเงินลงทุนไปลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

✅ ค่าลดหย่อนเงินบริจาค
 
ค่าลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป   ไม่เกิน 10%
ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา, โรงพยาบาล   ไม่เกิน 10%
ค่าลดหย่อนเงินบริจาคพรรคการเมือง   ไม่เกิน 10,000 บาท
 
1️⃣ ค่าลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป
ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าลดหย่อนอื่นแล้ว
 
2️⃣ ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา โรงพยาบาล พัฒนาสังคม
ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นแล้ว
 
3️⃣ ค่าลดหย่อนเงินบริจาคพรรคการเมือง
ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
เตรียม + เช็ก เอกสารลดหย่อนที่มีอยู่ในมือกันได้แล้วนะคะ การวางแผนภาษีเป็นเรื่องสำคัญและไม่ใช่การหนีภาษีนค่ะ เพราะมีตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว จะเสียภาษีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับฐานภาษีและค่าลดหย่อนที่เรามี อย่าลืมติดตามข่าวสารของทางสรรพากรให้ดี ยื่นแบบเมื่อไหร่จะได้ไม่พลาดนะคะ